วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

'Sustainable Competitive Advantage' and Corporate Social Responsibility (CSR)

'Sustainable Competitive Advantage'
and Corporate Social Responsibility (CSR)
'การได้เปรียบจากการแข่งขันที่ยั่งยืน และความรับผิดชอบธุรกิจต่อสังคม'

โดย...นายณัฏฐ์พัฒน์  สวัสดิโชคเจริญ 
นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต  สาขาการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
                                                                                                                                 28 พฤศจิกายน 2556
               คำนำและที่มา
 ปัจจุบันความเป็นผู้นำธุรกิจยุคใหม่ไม่ได้ตัดสินจากผลการดำเนินงานที่มุ่งแต่ผลกำไรและอัตราการเติบโตของธุรกิจเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบและการตอบแทนให้กับสังคมส่วนรวมด้วย โดยมีธุรกิจจำนวนมากที่นำแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate  Social  Responsibility)  หรือ CSR มาใช้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้กระแสการบริโภคในตลาดโลกต่างให้ความสำคัญต่อสินค้าและบริการที่มีกระบวนการผลิตตามแนวคิด  CSR หลายประเทศจึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้เป็นเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจได้ตระหนักในการสร้างจิตสำนึกแก่สังคมร่วมกัน 
                ทั้งนี้ สำหรับการเรียบเรียงบทความเรื่องนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา 'การสร้างเสถียรภาพและการได้เปรียบในการแข่งขัน' (Gaining and Sustaining Competitive Advantage) รหัสวิชา 949816 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต  สาขาการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย โดยมีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อดังนี้ 1.) เพื่อศึกษาจุดเริ่มต้น จุดกำเนิด และความเป็นมาความสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคม 2.) เพื่อศึกษาแนวคิด ความหมาย และคำจำกัดความของความรับผิดชอบต่อสังคม 3.) ศึกษาการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคมในปัจจุบัน 4.) ศึกษาระดับชั้นของความรับผิดชอบต่อสังคม 5.) ยกตัวอย่างกรณีศึกษากิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งตัวอย่างในประเทศไทยและตัวอย่างงานวิจัยต่างๆจากทั่วโลก 6.) ศึกษาประโยชน์ของการมีความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับภาคธุรกิจ และ 7.) ศึกษาการมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่สามารถช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน
            นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้เสนอบทความต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจทั่วไป ซึ่งสามารถค้นคว้าและอ่านเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลอ้างอิงในแหล่งสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตหรือสื่อออนไลน์ต่างๆ ได้อีกด้วย ทั้งนี้ ผู้เขียนต้องกราบขอบพระคุณ ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ อัครางกูร เป็นอย่างสูงที่ได้ให้คำแนะนำเนื้อหาและข้อมูลต่างๆในการจัดทำการเรียบเรียงบทความเรื่องนี้ให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และหากมีข้อบกพร่องประการใด ผู้เขียนต้องกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
บทนำ
(Introduction)
            ทุกวันนี้ ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility "CSR") ซึ่งได้ครอบคลุมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรหรือธุรกิจโดยไม่จำเป็นในการแสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบัน CSR ยังหมายถึงการบริจาคให้ทาน การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่สังคมได้รับประโยชน์การจัดการทางจริยธรรม และกิจกรรมทั่วๆ ไปที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย 

                สำหรับการให้เพื่อสังคมโดยภาคธุรกิจนั้น องค์กรธุรกิจสามารถทำได้อย่างหลากหลาย  โดยการให้เงินบริจาคนั้น เป็นเพียงลักษณะหนึ่งที่มีมานานแล้วเท่านั้น  ปัจจุบัน แนวความคิดที่ได้รับการยอมรับมาก ในด้านการให้ต่อสังคมโดยภาคธุรกิจนั้นก็คือสิ่งที่เรียกกว่า การรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)’ นั่นเอง ซึ่งถือเป็นแนวความคิดทางธุรกิจที่ปัจจุบันได้กลายเป็นกระแสไปทั่วโลก  อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจรูปแบบ กลไก และประโยชน์ของ CSR อย่างแท้จริง เพื่อไม่ให้ CSR กลายเป็นเพียงแค่กระแสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วเท่านั้น เราจะต้องเน้นให้องค์กรธุรกิจได้เข้าใจบทบาท หน้าที่ ความสำคัญ และประโยชน์ของ CSR ที่แท้จริง เพื่อความได้เปรียบที่ยั่งยืนจากการแข่งขันในธุรกิจ


บทที่ 1
จุดเริ่มต้น จุดกำเนิด และความเป็นมาของ CSR
(The Origin and History of Corporate Social Responsibility)
                องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) หรือ ISO ได้จัดทำข้อเสนอการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ทั้งนี้ เพื่อให้มีมาตรฐานสากลเกี่ยวกับกระบวนการ รูปแบบ ระบบการจัดการที่คำนึงถึงกฎระเบียบ  หลักจริยธรรม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย รวมทั้งการใช้แรงงาน เป็นต้น โดยมีความเชื่อว่าการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศของ ISO ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมจะมีผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการค้าระหว่างประเทศ และการนำมาใช้ปฏิบัติในองค์การที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจทั่วโลก ( ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, 2552.)
                โดยจุดกำเนิดและจุดเริ่มต้นของความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 เนื่องจากองค์การธุรกิจถูกโจมตีว่ามีอำนาจมากเกินไปและปราศจากความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น ประชาชนจึงพยายามหยุดยั้งอำนาจของธุรกิจโดยผ่านทางกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายการป้องกันการผูกขาด กฎระเบียบของธนาคาร และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น จากแนวความคิดดังกล่าว ทำให้ธุรกิจมีบทบาทในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น
                ต่อมาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแนวความคิดแบบใหม่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย 2 หลักการ คือ หลักการให้ความช่วยเหลือในรูปกองทุน มีแนวคิด คือ สมาชิกในสังคมควรให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยการให้ความช่วยเหลือและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน และหลักการของผู้พิทักษ์ มีแนวคิด คือ กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจะได้รับความช่วยเหลือ และผลประโยชน์จากการดำเนินการของบริษัทจะทำให้ผู้บริหารได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงขององค์การเปรียบเสมือนผู้ดูแลและเป็นผู้ควบคุมแผนงานการใช้ทรัพยากรจำนวนมาก
                นอกจากนี้ ยังพบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจเป็นเครื่องมือที่โลกตะวันตกคิดขึ้นสำหรับใช้ควบคุมหรือถ่วงดุลลัทธิทุนนิยมสุดขั้ว มุ่งกำไรสูงสุด จนหย่อนด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นกลไกควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจข้ามชาติ ต้องให้ประพฤติปฏิบัติในลักษณะที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในหลากหลายมิติ หลักการของธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่บนฐานคิดว่า ธุรกิจจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้ สังคมจะต้องมั่นคง หากธุรกิจดำเนินการในลักษณะที่ธุรกิจรุ่งเรืองจากการเอาเปรียบสังคมจนอยู่ไม่ได้ ในที่สุดธุรกิจก็จะอ่อนแอหรือล่มสลายไป ดังนั้น ธุรกิจกับสังคมจะต้องอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ช่วยกันลดจุดอ่อนต่อกัน อีกทั้ง แนวความคิดในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมนี้ เกิดจากการเรียกร้องจากหลายๆกระแสให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่โดยรอบ พอๆ กับการต้องมีความรับผิดชอบต่อความอยู่รอดของธุรกิจของตน ( ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, 2552.)
                นอกจากนี้ จุดกำเนิดของ CSR ยังมาจาก 4 ทิศทาง ประกอบด้วย
1. CSR จากกระแสเรียกร้องของประชาชน
                ยกตัวอย่างเช่น บริษัท อีสท์ อินเดีย ในประเทศอังกฤษ ถูกคว่ำบาตรจากประชาชนในประเทศ เนื่องจากพบว่าบริษัทใช้แรงงานทาส จึงทำให้บริษัทจำเป็นต้องหันมาใส่ใจกับสวัสดิการแรงงานและสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ.1984) Nestle’ ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม ได้ออกกิจกรรมรณรงค์ให้เด็กทารกดื่มนม เนสเล่ แทนนมแม่ ก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากต่อประชาชน จนคว่ำบาตรสินค้าของ เนสเล่ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่ประชาชนรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เพื่อบีบให้องค์กรยักษ์ใหญ่ อย่าง เนสเล่ เปลี่ยนนโยบาย แต่ก็ได้ผลดี ถึงแม้ว่าการทำ CSR ในยุคแรกๆ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากเจตนารมย์ที่ดีขององค์กรเอง (มักรอให้เกิดปัญหา แล้วค่อยมาแก้ไขด้วยการทำ CSR ทีหลัง) แต่นั่นก็เป็นการจุดประกายการทำ CSR ขึ้นในสังคม เพราะหลายบริษัทจะพบว่า การรอให้เกิดปัญหา การประท้วงเรื่องแรงงาน สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ก่อน แล้วจึงค่อยหันมาใส่ใจประเด็นเหล่านี้ ไม่เป็นผลดีอีกต่อไป ทำไมไม่เป็นฝ่ายรุก หันมาดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม  แสดงตนว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และมีความปรารถนาที่ดีที่จะทำสิ่งดีดีตอบแทนสังคมที่ตนอยู่ (Corporate Citizenship) (ที่มา : www.csr.imageplus.co.th)
                แต่จะอย่างไร ธุรกิจก็คือธุรกิจ การรักษาผลประโยชน์ (กำไร) เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในสายตาของผู้ถือหุ้น ซึ่งการนำส่วนหนึ่งของผลกำไรที่ผู้ถือหุ้นควรจะได้รับแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไปลงทุนในการทำ CSR ซึ่งเป็นอะไรที่ไม่สามารถเห็นผลได้ชัดเจนในระยะสั้นๆ ย่อมเกิดความไม่พอใจต่อหลายฝ่ายที่รู้สึกว่าตนเสียผลประโยชน์ การทำ CSR จึงจำเป็นจะต้องผสานประโยชน์ทั้งภายนอกและภายในองค์กร เพราะถึงแม้ว่าองค์กรจะต้องใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อยในการทำ CSR แต่ในขณะเดียวกัน องค์กรที่ทำ CSR จะทำให้ประชาชน รู้สึกดีต่อองค์กร และเลือกที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์และ/หรือ บริการขององค์กรนั้นๆ แทนที่จะไปใช้ของคู่แข่ง ที่ไม่ได้ทำ CSR หรือเกิดความจงรักภักดีในตราสินค้า (Brand Royalty) ซึ่งทำให้รายได้ขององค์กรเพิ่มขึ้นมาก และยั่งยืนอีกด้วย และนั่นก็เปรียบเสมือน "License to Operate" ในเชิงสัญลักษณ์ เมื่อประชาชนสนับสนุนองค์กร ก็เปรียบเสมือนการอนุญาตให้องค์กรนั้นๆ ดำเนินธุรกิจอยู่ในสังคมของพวกเขา ในทางกลับกัน หากองค์กรที่ไร้จรรยาบรรณ ถึงจะเปิดกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากประชาชนไม่สนับสนุน หรือคว่ำบาตรสินค้าขององค์กรนั้นๆ ธุรกิจก็คงดำเนินต่อไปไม่ได้
                จากการทำ CSR แบบตกกระไดพลอยโจนในอดีต พัฒนามาสู่ แนวคิดที่ว่า "ทุกองค์กร ควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม"  โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ที่เป็นที่มาของความกินดีอยู่ดีในสังคม เพราะมีทั้งกำลังทรัพย์และความสามารถในการจัดการบริหารต่างๆ จนเกิดข้อถกเถียงขึ้นในปัจจุบันว่า อันที่จริงแล้ว "ใคร" กันแน่ที่มีหน้าที่ในการทำ CSR โดยตรง เพราะแต่เดิมหน้าที่นี้เป็นของภาครัฐบาลและ NGO แต่ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน "มันเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกองค์กร ที่จะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน"
2. CSR จากกลุ่มนักลงทุน
                ประมาณปี พ.ศ. 2471 เริ่มมีแนวทางการลงทุนทางธุรกิจเพื่อสังคมแนวใหม่ขึ้น หรือที่เรียกว่า "Social Responsibility Investment" ในปัจจุบัน  คือการจัดตั้งกองทุนเพื่อไปลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม  ซึ่งถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการทำ CSR ซึ่งมีนัยยะที่สำคัญเพราะนักลงทุนนั้นมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการพลักดันให้ธุรกิจที่ตนเองถือหุ้นหรือลงทุนอยู่นั้นมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น  โดยมีพัฒนาการตามลำดับดังนี้
                1.  Pioneer Fund จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักลงทุนผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเทสแทนท์ โดยใช้หลักคำสอนของศาสนาเข้ามาวัดความชอบธรรมในการดำเนินธุรกิจ  โดยจะนำทุนไปลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้งหลาย เช่น สุรา นารี ยาเสพติด ฯลฯ
                2. Green Fund กองทุนที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
                3. Social Responsible Investment หรือ Social Responsible Funds   เป็นกองทุนที่ลงทุนในองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมในหลายๆ ด้านในขอบเขตที่ไกลออกไป ตั้งแต่เรื่องสิทธิมนุษยชน แรงงาน สวัสดิการของคนและสัตว์ ห่วงใยชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราเติบโตสูงมากในช่วงปี 2542-2544 มีอัตราเติบโตสูงถึง 36% มีมูลค่าการลงทุนในสหรัฐอเมริกามากถึง 17.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ นับว่าเป็นตลาดที่น่าจับตามองอย่างมาก   (ที่มา: www.csr.imageplus.co.th)
                3. CSR จากมุมของนักวิชาการ
                ในวงการ วิชาการต่างประเทศ ก็มีการพัฒนางานเขียนที่มีแนวคิดเรื่อง CSR  ขึ้นมาเรื่อยๆ ดังนี้
ปี พ.ศ.2483 (ค.ศ.1940 ) ศาสตราจารย์ ธีโอดอร์ เครปส์  Professor Theodor Kreps  จากสแตนด์ฟอร์ด บิสสิเนส สคูล ใช้คำว่า Social Audit” เป็นครั้งแรก  ซึ่งกล่าวว่าองค์กรธุรกิจควรมีการทำรายงานการกระทำที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม   แต่ทว่ากระแสเรื่อง CSR ก็ยังไม่เป็นที่สนใจอยู่ดี
                ปี พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953 ) หนังสือเรื่อง Social Responsibilities of Business Man” โดย โฮเวิร์ด โบเวนด์ Howard Bowend กล่าวถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักธุรกิจ
                ปี พ.ศ.2503 (ค.ศ.1960 )  หนังสือเรื่อง The Responsible Corporation” หรือความรับผิดชอบต่อสังคมโดยนักธุรกิจ โดย จอร์จ กอยเดอร์ George Goyder ได้พัฒนาแนวคิดการทำ CSR อย่างชัดเจนขึ้นมาในปีเดียวกัน เป็นช่วงที่ผลพวงจากการใช้ DDT” ซึ่งอเมริกาเป็นผู้ผลิตและส่งออก อย่างไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการใช้ DDT  เป็นผลให้สภาพแวดล้อมปนเปื้อนสารพิษ นำไปสู่กระแสเรียกร้องด้าน สิ่งแวดล้อม ขึ้น  (ที่มา: www.csr.imageplus.co.th)
                4. CSR กับสถาบันและกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
                หลังจากกระแสด้านสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นที่ทั่วโลกจับตามองจากเรื่อง DDT ในช่วงปี พ.ศ.2503 (ค.ศ.1960) ก็เกิดการประชุมที่มุ่งช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นเรื่อยๆ
ปี พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) มีการประชุม UN Conference on the Human Environment ที่ Stockholm Sweden ที่นำมาสู่ Stockholm Declaration on the Human Environment” ซึ่งเป็นที่มาของการก่อตั้ง UNEP: United Nation Environment Program ขึ้น โดยเป็นหน่วยงานที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ในภาคต่างๆ รวมถึงภาคธุรกิจ
                ปี พ.ศ.2519 (ค.ศ.1976) กลุ่มประเทศพัฒนา OECD ตั้ง Guideline for Multinational Enterprises เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ ให้ดำเนินธุรกิจโดยมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการตอบรับจากบริษัทต่างๆ ดีมาก แต่ก็ยังจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว นำไปสู่การปรับปรุง Guideline อีกครั้งในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) เกิดเป็นกระแสการทำ CSR ระหว่างประเทศ เพราะเน้นการนำไป ปฏิบัติจริง ในทุกประเทศ ไม่จำกัดเฉพาะในกลุ่มประเทศสมาชิก OECD
                ปี พ.ศ.2530 (ค.ศ.1987) UN Brundtland Commission ผลิตเอกสารสำคัญสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนิยามคำว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนยุคปัจจุบันได้ โดยไม่ทำให้ความต้องการของคนยุคต่อมาเกิดปัญหา โดยตั้งชื่อให้กับเอกสารนี้ว่า Our Common Future”
                ปี พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989) หลังจากเหตุการณ์ เรือบรรทุกน้ำมันดิบของ Exxon Waldez ล่มบริเวณทะเลอลาสก้า ซึ่งก่อผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และสัตว์น้ำแถบทะเลอลาสก้าเป็นวงกว้าง กลุ่มธุรกิจ SRI (social Responsible Investment) ซึ่ง Exxon เป็นหนึ่งในนั้นจึงร่วมกันบัญญัติกฎ 10 ประการที่เรียกว่า Waldez Principle” ซึ่งกำหนดความประพฤติ ขององค์กรให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม  ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อบัญญัติ เป็น CERES Principle 
                ปี พ.ศ.2535 (ค.ศ.1992) มีการประชุม UN Earth Summit ที่ ริโอ เดอ จาเดโร ประเทศบราซิล เกิด RIO Declaration ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น
                ปี พ.ศ.2538 (ค.ศ.1995) มีการประชุม UN World Summit for Social Development ที่ โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งสาระสำคัญของการประชุมเน้น การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป โดยเฉพาะประเด็นเรื่องแรงงาน ที่ควรได้รับการจ้างงานเต็มอัตรา มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน ตามกฎขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (ILO)
                ปี พ.ศ.2539 (ค.ศ.1996) ผลจาก Rio Summit  นำมาสู่การเกิดมาตรฐาน ISO 14000  ซึ่งเน้นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั่วโลกนำไปใช้ เพื่อให้เกิดมาตรฐานของธุรกิจร่วมกัน  ณ ปัจจุบัน มีองค์กรธุรกิจ กว่า 50,000 องค์กร ทั่วโลกที่ได้รับมาตรฐาน ISO 14000  แล้ว และกว่า 500,000 รายที่ได้รับมาตรฐาน ISO 9001 ซึ่งเน้นด้านสิทธิและสวัสดิการแรงงาน
                ช่วงปลายทศวรรษ 90 (ประมาณ พ.ศ. 2524-2534) เกิด GRI: Global Reporting Initiative ซึ่งมุ่งหามาตรฐานการรายงานผลการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้ง 3 มิติ คือ การวัดผลทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อที่จะให้แต่ละองค์กรธุรกิจรายงานผล ที่เป็นจริงในทุกมิติ ไม่ใช่นั่งเทียนเขียนลอยๆ โดยไม่ได้ทำจริง  ซึ่งขณะนี้มีบริษัทขนาดใหญ่กว่า 400 บริษัทที่นำหลักการนี้ไปใช้
                ปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) ผู้คนเริ่มให้ความประเด็นเรื่อง CSR เป็นที่สนใจอย่างมาก  มีการประชุม World Economic Forum นำโดยนายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN)  ร่วมกับ 5 หน่วยงานของ UN (ILO, UNDP,UNEP, UNCHR, UNIDO) และภาคธุรกิจ ได้ออก UN Global Compact” หรือหลัก 9 ประการที่บริษัทในโลก โดยเฉพาะธุรกิจข้ามชาติ ให้ทำ CSR ในหลักการทั้ง 9 นี้ ได้รวมเอาแนวคิดเรื่อง Corporate Citizenship, สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน  การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่กระจัดกระจายจากหลายๆ แนวคิดเข้าด้วยกัน เป็นบรรทัดฐานการทำ CSR ขององค์กรธุรกิจที่ชัดเจนที่สุด ต่อมา OEDC จึงได้ปรับแผลการดำเนินงานในกลุ่มประเทศสมาชิกของตนให้สอบคล้องกับ UN Global Compact”
                ปี พ.ศ.2545 (ค.ศ.2002) UN World Summit on Sustainable Development ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์กนั้นก็เป็นจุดที่เกิดความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนของความรับผิดชอบของภาคธุรกิจต่อสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีหลักการที่ว่าการตอบสนองความต้องการของคนยุคนี้ต้องไม่ไปทำลายโอกาสของคนรุ่นหลังในการตอบสนองความต้องการของตน  (ที่มา: www.csr.imageplus.co.th)

ความสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคม
(The Importance of Corporate Social Responsibility)
                "การเจริญเติบโต (Growth) ของธุรกิจหนึ่งๆ มาจากการพัฒนาองค์กรให้มีความ เก่งอยู่ในตัว ในขณะที่การพัฒนาองค์กรให้มีความ ดีอยู่ในตัว จะก่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability) ของธุรกิจนั้น(ที่มา : www.csr.imageplus.co.th)
                แนวคิดและทฤษฎีทางธุรกิจที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดสู่องค์กรโดยส่วนใหญ่ ล้วนมุ่งไปที่การพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ เก่งตัวอย่างทฤษฎีที่รู้จักกันดี ได้แก่ SWOT Analysis (Ansoff 1965) สำหรับการกำหนดตำแหน่งและการสร้างความสำเร็จขององค์กร หรือ Boston Matrix (BCG 1970) สำหรับการกำหนดความสำคัญและการสร้างความสำเร็จในผลิตภัณฑ์ หรือ Five Forces (Porter 1980) และ Diamond Model (Porter 1990) สำหรับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น
                สำหรับแนวคิดในเรื่องซีเอสอาร์ จะมุ่งไปที่การสร้างให้องค์กรมีความ ดีที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากหลักคุณธรรมทางศาสนา ซีเอสอาร์จึงมิใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เพิ่งได้มีการบัญญัติคำนี้ขึ้นใช้ในวงการธุรกิจเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง
                สำหรับในประเทศไทย แนวคิดเรื่องซีเอสอาร์ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนาธุรกิจในสังคมไทยมาเป็นเวลายาวนาน ในรูปของการทำบุญ การบริจาคเพื่อการกุศล หรือการอาสาช่วยเหลืองานส่วนรวมที่เรียกว่า การลงแขกเป็นต้น เพียงแต่คนไทยยังมิได้เรียกกิจกรรมเหล่านี้ด้วยคำว่าซีเอสอาร์   อย่างไรก็ดี กระแสซีเอสอาร์ในเมืองไทย ก็ได้ถูกจุดประกายขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2549 และได้ถูกบรรจุเป็นแนวปฏิบัติที่ผนวกเข้ากับการดำเนินธุรกิจ นอกเหนือไปจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบที่อยู่นอกกระบวนการทางธุรกิจ เช่น การบริจาค หรือการอาสาช่วยเหลือสังคมเช่นที่ผ่านมา
(ที่มา : www.csr.imageplus.co.th)


แนวคิด ความหมาย และคำจำกัดความของความรับผิดชอบต่อสังคม
(Concepts Meanings and Definitions of CSR)
                คำจำกัดความของ CSR อันที่จริงแล้ว Triples Bottom Line หรือการดำเนินธุรกิจโดยมีเป้าหมายที่กำไร สังคม และสิ่งแวดล้อมนั้นล้วนเป็นส่วนประกอบในการทำ CSR ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่า ณ ปัจจุบัน จะยังไม่มีการนิยามศัพท์ คำว่า CSR ที่เป็นหนึ่งเดียว  อย่างชัดเจน แต่ก็จะเห็นใจความของการทำ CSR ได้จาก บทความ งานเขียน ต่างๆ  ดังยกตัวอย่างต่อไปนี้

European Commission Green Paper
                CSR เป็นแนวคิดที่ บริษัทจะบูรณาการ งานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกิจการของประเทศ และการปฏิสัมพันธ์ ของผู้เกี่ยวข้อง ( Stakeholder) โดยสมัครใจ
UNCTAD
                “CSR คือการที่บริษัทเข้าไปเกี่ยวข้องและมีผลกระทบเชิงบวกต่อความต้องการและเป้าหมายของสังคม
World Business Council on Sustainable Development
                “CSR คือคำมั่นของบริษัทที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนโดยทำงานร่วมกับลูกจ้างและครอบครัวของพวกเขา ชุมชน และสังคมโดยกว้าง เพื่อจะพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสังคมโดยรวม
ISO
                “CSR เป็นเรื่องของการที่องค์กรตอบสนองต่อประเด็น ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งที่การ               ให้ ประโยชน์กับ คน ชุมชน และสังคม   นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องของบทบาท ขององค์กรธุรกิจในสังคม และความคาดหวังของสังคมที่มีต่อองค์กรธุรกิจ  โดยจะต้องทำด้วยความสมัครใจ และผู้บริหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ โดยสามารถวัดผลได้ใน 3 มิติ คือ การวัดผลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
 


ดร.ปริยา รินรัตนากร ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี อธิบายถึง CSR ว่า......
                "บริษัทที่มุ่งหวัง แก้ไขปัญหา สังคมที่ยุ่งเหยิงมีแต่ความขัดแย้ง แก้ปัญหาความยากจน และความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ชีวิตประจำวันของคนดีขึ้น ผ่านพันธกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมของบริษัท คุณค่าที่เน้น ในยุคนี้คือ Spiritual Value & Creative Value ให้กับลูกค้า เกิดแนวคิด CSR เพื่อสังคมอย่างแท้จริง และยั่งยืน ไม่ใช่เพื่อภาพลักษณ์องค์กรแต่อย่างเดียว"
                นอกจากนี้ CSR ยังสาระสำคัญดังนี้
1.             การประกอบธุรกิจโดยยึดหลักศีลธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล
2.             การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรอย่างมีคุณธรรม
3.             การเคารพสิทธิและปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
4.             การส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาตนเอง (training courses)
5.             มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
6.             การเข้าร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
7.             การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
8.             การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งที่สำคัญมากต่อองค์กร นั่นคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร หรือ Stakeholder ซึ่งไม่ใช่แค่ เจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นเท่านั้น คำว่ามีส่วนได้ส่วนเสียนี้ยังรวมถึง พนักงาน ชุมชุน สังคมบริเวณที่องค์กรตั้งอยู่ รัฐบาล และลูกค้า หรือทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรและมีโอกาสที่จะสร้าง และ/หรือได้รับผลกระทบต่อองค์กรนั้นๆ               ดังนั้นจึงควรต้องทำความเข้าใจว่าในองค์กรของเรา มีใครบ้างที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเราทั้งในแง่บวกและแง่ลบ เราจึงจะทำ CSR ได้ถูกทิศทาง
การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ใช่การทำให้กิจการถูกกฎหมาย  หรือถูกต้องแต่เพียงอย่างเดียว แต่ทว่า ถือเป็นการลงทุนในมนุษย์ สิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่ ความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ความอยู่รอด และรายได้ขององค์กรนั่นเอง  ถึงกระนั้นก็ดี CSR ก็ไม่ควรนำมาใช้ทดแทน กฎระเบียบ หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิสังคม มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพราะในประเทศที่มีกฎหมายที่อ่อนหรือไม่รัดกุม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนากฎหมายเหล่านั้นขึ้นมา เพื่อให้ประเทศนั้นๆ มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำ CSR ยิ่งๆ ขึ้น

'Corporate Social Responsibility'
                By... Prof. Stephen Schneider from Stanford University


http://walimemon.com/2010/08/corporate-social-responsibility/
              
                    The World Business Council for Sustainable Development in its publication “Making Good Business Sense” by Lord Holme and Richard Watts, used the following definition. “Corporate Social Responsibility is the continuing commitment by business to behave ethically and contribute to economic development while improving the quality of life of the workforce and their families as well as of the local community and society at large”...... “CSR is about capacity building for sustainable livelihoods. It respects cultural differences and finds the business opportunities in building the skills of employees, the community and the government” from Ghana, through to “CSR is about business giving back to society” from the Philippines..... (ที่มา : http://walimemon.com/2010/08/corporate-social-responsibility)

                จากบทความข้างต้น สรุปได้ว่าองค์กรร่วมระดับโลกอย่าง The  World  Business  Council  for  Sustainable  Development  (WBCSD) ได้กล่าวถึงกิจกรรม  CSR ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างต่อเนื่องของบริษัทในการดำเนินธุรกิจ โดยใช้พื้นฐานจริยธรรมเป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานและคุณภาพชุมชนท้องถิ่น รวมถึงสภาพสังคมโดยรวม...
                สำหรับความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมคืออะไร (What is Corporate Social Responsibility?) คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งเเวดล้อมของบริษัทจดทะเบี ยนคณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  (กลต.) ได้ให้ความหมายของ  "Corporate Social  Responsibility" หมายถึง การดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการกำกับที่ดีควบคู่ไปกับการใส่ใจดูเเลรักษาสังคมและสิ่งเเวดล้อมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ  เรียกว่า  'เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม'      ที่จะช่วยบอกพิกัดการดำเนินงานที่มีเป้าหมายทางธุรกิจควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคม
                คำว่า 'ซี เอส อาร์' เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ บรรษัทบริบาล หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในองค์กรและในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุขหากพิจารณาแยกเป็นรายคำศัพท์ คำว่า Corporate มุ่งหมายถึงกิจการที่ดำเนินไปเพื่อแสวงหาผลกำไร (หมายรวมถึงองค์กรประเภทอื่นได้ด้วย) ส่วนคำว่า Social ในที่นี้ มุ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันหรือมีวิถีร่วมกันทั้งโดยธรรมชาติหรือโดยเจตนา รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบประกอบ และคำว่า Responsibility มุ่งหมายถึงการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ ตลอดจนการรับภาระหรือเป็นธุระดำเนินการป้องกันและปรับปรุงแก้ไขผลที่ไม่ดี รวมถึงการสร้างสรรค์และบำรุงรักษาผลที่ดีซึ่งส่งกระทบไปยังผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ 
(ข้อมูลจาก....สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
                ฟิลิป คอตเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ร่วมกับ แนนซี่ ลี   นักพัฒนาสังคม  อาจารย์สมทบแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน  และมหาวิทยาลัยซีแอตเติ้ล  เรียบเรียงแนวคิดและแนวปฏิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ตีพิมพ์เนื้อหาในหนังสือ  “Corporate  Social  Responsibility  Doing  the  Most Good  for  Your  Company  and  Your  Cause”  อธิบายเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมที่ไม่ใช่เป็นเพียงการบริจาค ประเด็นที่ทั้ง  2  ท่าน ให้ความสำคัญ คือ เรื่องความสมัครใจในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ได้ถูกควบคุมโดยกฎหมายหรือข้อบังคับ โดย ฟิลิป คอตเลอร์ และแนนซี่ ลี ได้จัดประเภท  กิจกรรมของ CSR สรุปได้ดังนี้

(1)  การส่งเสริมการรับรู้ปัญหาทางสังคม  ( Cause  Promotion)
(2)  การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นทางสังคม   (Cause-Related  Marketing)
(3)  การตลาดองค์กรเพื่อสังคม  (Corporate  Social  Marketing)
(4)  การบริจาคเพื่อการกุศล  (Corporate  Philanthropy)
(5)  การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering)
(6)  การดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม   ( Socially  Responsible  Business  Practices)
                อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกคนจะเห็นพ้องกับสิ่งที่เรียกว่า CSR ของภาคเอกชนบนฐานความคิดว่า  ธุรกิจเอกชนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จำเป็นต้องตอบแทนสังคม (คืนกำไรให้สังคม) ด้วยการเสียสละเงินทองและตอบแทนสิ่งดีงามคืนให้สังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน เช่น Milton  Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลกล่าวว่า ธุรกิจเอกชนไม่มีภาระอะไรไปยุ่งกับการตอบแทนสังคม หน้าที่หลัก     คือ สร้างผลกำไรตอบแทนให้ ผู้ถือหุ้นตามบทบาทหลักตนเอง การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสถือว่าเป็น CSR แต่กิจกรรมที่ทำให้สังคมเป็นหน้าที่ขององค์กรอื่นซึ่งเขาทำหน้าที่กันอยู่แล้ว  ปัจจุบันมีผู้สนับสนุนแนวคิด Friedman น้อยลง เนื่องจากสถานการณ์ Climate Change  ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่าทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบต่อโลกและสังคม  ทำให้ธุรกิจเอกชน คือ ส่วนหนึ่งของสังคมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการทำ CSR ได้

(ข้อมูลจาก....สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
           สำหรับคำว่า 'สังคม' ในความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะพิจารณาตั้งแต่ผู้มีส่วนได้เสียในองค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ สังคมใกล้ และสังคมไกล
                สังคมใกล้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับองค์กรโดยตรง ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ ซึ่งรวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
                สังคมไกล คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยอ้อม ได้แก่ คู่แข่งขันทางธุรกิจ ประชาชนทั่วไป ระบบนิเวศโดยรวม เป็นต้น
                ในระดับของผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุน ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน การให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของกิจการ การไม่นำข้อมูลภายในไปเปิดเผยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารหรือกรรมการซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม เป็นต้น
                ในระดับของผู้บริหารหรือกรรมการบริษัท ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีระบบการบริหารจัดการและการกำหนดค่าตอบแทนที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการจัดทำและเปิดเผยข้อมูลรายงานทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา รวมถึงการอุทิศเวลาและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น
                ในระดับของพนักงาน ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การจ่ายค่าจ้างและผลตอบแทนที่เป็นธรรมและตรงต่อเวลา การจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน การพัฒนาบุคลากรและการฝึกอบรมในสถานที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น
                ในระดับของลูกค้าและผู้บริโภค ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ ความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค การให้บริการลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา การให้ข้อมูลขององค์กรและตัวผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอและอย่างถูกต้องเที่ยงตรง การปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค การยุติข้อโต้แย้งและข้อร้องเรียนของผู้บริโภค เป็นต้น
                ในระดับของคู่ค้า ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การยึดถือข้อปฏิบัติทางสัญญาที่เป็นธรรม การดำเนินงานในทางต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก และการรับหรือให้สินบนในทุกรูปแบบ การเคารพต่อสิทธิในทรัพย์สินหรือกรรมสิทธิ์ของคู่ค้า การไม่เอารัดเอาเปรียบต่อคู่ค้า การส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินความรับผิดชอบด้านสังคมร่วมกับองค์กร เป็นต้น
                ในระดับของชุมชนและสภาพแวดล้อม ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การสงเคราะห์เกื้อกูลชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ การส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นให้มีโอกาสในตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กร การสนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เป็นต้น
                ในระดับของประชาสังคม ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือเครือข่ายอื่นๆ ในการพัฒนาสังคม การตรวจตราดูแลมิให้กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การรับฟังข้อมูลหรือทำประชาพิจารณ์ต่อการดำเนินกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และการทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น
                ในระดับของคู่แข่งขันทางธุรกิจ ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้แก่ การแข่งขันอย่างเป็นธรรม การดูแลกิจการมิให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันด้วยวิธีการทุ่มตลาด การกลั่นแกล้งหรือใช้อิทธิพลในการกีดกันเพื่อมิให้เกิดการแข่งขัน เป็นต้น
 (ที่มา : http://thaicsr.blogspot.com/2006/03/blog-post_20.html)    
 
 
การเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม
(About Moving to be Corporate  Social  Responsibility  'CSR')
                1. โลกาภิวัฒน์ องค์กรธุรกิจแผ่ขยายไปทั่วโลก ถ้าไม่มีหลักการควบคุมด้านมนุษยธรรม หรือมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน ก็จะเกิดกรณี อย่าง NIKE ที่ไปผลิตสินค้าในประเทศยากจน กดราคาแรงงานให้ต่ำสุดขีด เพื่อมาขายในประเทศพัฒนาแล้ว ในราคาสูงลิบ ขาดจรรยาบรรณขององค์กรที่ดี ในด้านสิทธิและสวัสดิการแรงงาน เป็นต้น   หากจะมองในด้านบวก  บริษัทข้ามชาติ ต่างก็มีซัพพลายเออร์ และ/หรือ สาขาท้องถิ่น อยู่ทั่วโลก หากบริษัทแม่ นำหลักการด้าน CSR ไปใช้กับซัพพลายเออร์ และหรือ สาขาท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย เศรษฐกิจ และสังคมโลก ก็จะพัฒนาไปพร้อมๆ กัน
                2. การเปิดเสรีการค้า และการปฏิรูปด้านกฎหมายต่างๆ  เนื่องจากปัจจุบัน โลกเปิดเสรีทางการค้า แต่ในแง่ของกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ อาจยังไม่คลอบคลุม หรือเพียงพอที่จะคุ้มครองให้องค์กรธุรกิจดำเนินการอยู่ภายใต้จรรยาบรรณที่ดี ดังนั้นหารภาคธุรกิจ มีผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ก็จะเป็นตัวสร้างกระแส CSR ให้เกิดขึ้น อุดช่องโหว่ที่ฝ่ายรัฐบาลเข้าไปดูแลไม่ถึง
                3. กระแสเรื่องสิ่งแวดล้อม และสังคม นับจาก RIO Summit  ในปี พ.ศ.2503 (ค.ศ.1960) ที่นำประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในกระแสสังคมโลก  ต่อมากระแสด้านสังคม ก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากเกิดปัญหาสังคม ทำให้เกิดแนวคิดเรื่อง Triples Bottom Line กล่าวคือ การบริหารจัดการ ที่ใส่ใจ ผลกำไร สิ่งแวดล้อม และสังคมไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากกระแสเรื่องสิ่งแวดล้อม และสังคม เป็นประเด็นร้อน บีบให้องค์กรธุรกิจต้องหันมาใส่ใจ แต่ก็ยังคงต้องรักษาผลกำไรขององค์กรไว้เป็นหลัก  ดังนั้นการทำ CSR จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่จะประสานประโยชน์ทั้ง 3 เข้าด้วยกันได้ องค์กรธุรกิจหลายองค์กรที่มีทัศนวิสัย กว้างไกล จึงเริ่มหันมาทำ CSR กันอย่างพร้อมหน้า     

บทที่ 2
องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคมในปัจจุบัน
(Consists of Corporate  Social  Responsibility  in Current)

แม้วิวัฒนาการของ CSR นั้นจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนและไม่มีมาตรฐานตายตัว  อย่างไรก็ตามในการประยุกต์ CSR เข้ากับธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมในทุกขนาดไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือระหว่างประเทศนั้น ก็ได้มีการรวบรวมลักษณะรูปธรรมในการดำเนินการด้าน CSR ไว้ โดยเฉพาะจาก European commission on CSR ซึ่งกล่าวว่า CSR นั้นมีอยู่สองมิติหลักๆ ก็คือมิติภายในอันเป็นการดูแลกิจกรรมต่างๆที่ธุรกิจนั้นดำเนินการอยู่และจัดการได้โดยตรงเช่นการจัดการแรงงาน กระบวนการผลิต หรือการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม   และมิติภายนอกซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจที่บริษัทอาจจะควบคุมไม่ได้โดยตรงเช่นการดูแลลูกค้า การรับผิดชอบต่อ supplier และการสนับสนุนกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคม ฯลฯ ดังนี้
มิติภายใน
1.             การจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังค
2.             สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงา
3.             การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือ
4.             การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในองค์ก
5.             บรรษัทภิบาลและความโปร่งใสในการดำเนินกิจกา
มิติภายนอก
1.    การจัดการกับ Supplier  และหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Partners) ที่รับผิดชอบต่อสังคม
2.    การดูแลผู้บริโภค
3.    ความรับผิดชอบต่อชุมชนใกล้เคียง (Local Communities)
4.    ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
5.    การรับผิดชอบต่อโลก




ระดับชั้นของความรับผิดชอบต่อสังคม
(Levels of Corporate Social Responsibility)



                Here is a model for evaluating an organization’s social performance. The model indicates that total corporate social responsibility can be subdivided into four criteria-economic, legal, ethical and discretionary responsibilities.These responsibilities are ordered from bottom to top in the following illustration. Let’s discuss each one  them briefly.

                ากภาพข้างบน จะเห็นได้ว่าความรับผิดชอบต่อสังคมอาจแบ่งเป็นระดับชั้นได้ โดยจากขั้นที่ 1 อันเป็นสิ่งที่ผู้บริหารหรือนักธุรกิจต้องทำเพื่อความอยู่รอดของตนเอง นั่นคือ ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ แต่ผู้บริหารหรือนักธุรกิจบางคนจะรับผิดชอบในขั้นสูงขึ้นต่อไปคือ จะเลือกทำสิ่งที่ได้ผลประโยชน์ ได้กำไร แต่ต้องไม่ผิดกฎหมาย ถ้ามีความรับผิดชอบสูงขึ้นไปอีก ก็จะเป็นความรับผิดชอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน ระมัดระวัง และจริงจังขึ้น แค่เพียงคำนึงถึงจริยธรรม ดังนั้น การที่ผู้บริหารหรือนักธุรกิจคนใดจะตัดสินใจดำเนินการโดยมีความรับผิดชอบมากน้อยประการใด ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้บริหารหรือนักธุรกิจผู้นั้น ( ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์..2552.)

               Economic responsibilities: The first criterion of social responsibility is economic responsibility. The business institution is, above all, the basic economic unit of society. Its responsibility is to produce goods and services that a society wants and to maximise profit for its owners and shareholders. Economic responsibilities, carried to the extreme, is called profit-maximizing view; it was advocated by Nobel economist Milton Friedman. This view argued that a company should be operated on a profit-oriented basis, with its sole mission to increase its profits so long as is stays withing the rule of the game.
                Legal responsibilities: All modern societies lay down ground rules, laws and regulations that businesses are expected to follow. Legal responsibility defines what society deems as important with respect to appropriate corporate behavior. Businesses are expected to fulfil their economic goals within the legal framework. Legal requirements are imposed by local councils, state and federal governments and their regulating agencies. Organizations that knowingly break the law are poor performers in this category. Intentionally manufacturing defective goods or billing a client for work not done is illegal. Legal sanctions may include embarrassing public apologies or corporate ‘confessions’.
                Ethical responsibilities : Ethical responsibility include behavior that is not necessarily codified into law and may not serve the organization’s direct economic interests. To be ethical, organization’s decision makers should act with equity, fairness and impartiality, respect the rights of individuals, and provide different treatments of individual only when differences between them are relevant to the organization’s goals and tasks. Unethical behavior occurs when decisions enable an individual or organization to gain expense of society.
                Discretionary responsibilities :Discretionary responsibility is purely voluntary and guided by an organization’s desire to make social contributions not mandated by economics, laws or ethics. Discretionary activities include generous philanthropic contributions that offer no payback to the organization and are not expected. Discretionary responsibility is the highest criterion of social responsibility, because it goes beyond societal expectations to contribute to the community’s welfare.
By... Hellriegel, Jackson, Slocum. Management, A competency-based approach, Edition 10
(ที่มา : http://totalqualitymanagement.wordpress.com/2009/03/12/stakeholders-and-corporate-social-responsibility/




ระดับชั้นความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ
(Levels of Corporate Social Responsibility)
                ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ สามารถแบ่งความรับผิดชอบที่ผู้บริหารควรจะมีต่อสังคมได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
                1.) ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ (Economic Responsibilities) เพื่อผลิตสินค้าและบริการตามที่ประชาชนต้องการนำมาขาย และก่อให้เกิดกำไรสำหรับเจ้าของกิจการ (ในกรณีที่เป็นองค์การทำเพื่อกำไร) นับได้ว่าเป็นความรับผิดชอบดั้งเดิมของการดำเนินกิจการจนอาจกล่าวได้ว่า ผู้บริหารในอดีตบางคนไม่เคยคำนึงถึงความรับผิดชอบในด้านอื่นเลย นอกจากความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจ
                2.) ความรับผิดชอบทางกฎหมาย (Legal Responsibilities) เพื่อดำเนินกิจการไปตามครรลองของกฎหมายและกฎข้อบังคับต่างๆ อย่างไรก็ตาม กฏหมายและกฏข้อบังคับไม่สามารถจะครอบคลุมการกระทำทุออย่างที่องค์กรกระทำได้ การกระทำบางอย่างไม่ผิดกฎหมาย แต่องค์การควรจะกระทำหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้บริหารองค์การนั้นๆ
                3.) ความรับผิดชอบทางจริยธรรม (Ethical Responsibilities) การกระทำบางอย่างไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายบังคับ ถ้าองค์การไม่ทำก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่องค์การเลือกกระทำเพราะเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบทางจริยธรรม เช่น การให้สวัสดิการด้านเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย เงินกู้ยืม อาหารกลางวัน รถรับส่งพนักงาน หรือการจัดนำเที่ยว เป็นต้น
                4.) ความรับผิดชอบอย่างพินิจพิเคราะห์ (Discretionary Responsibilities) ความรับผิดชอบในระดับนี้เป็นความสมัครใจของผู้บริหารองค์การโดยตรง และขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกกระทำของผู้บริหารแต่ละคน ความรับผิดชอบนี้ไม่ได้บังคับไว้ตามกฎหมายหรือเป็นสิ่งที่พนักงานคิดว่าควรได้รับตามหลักจริยธรรม เช่น ผู้บริหารไม่สนับสนุนให้พนักงานทำงานล่วงเวลา แต่กลับจ้างพนักงานเพิ่ม เพิ่มเครื่องจักร หรือเพิ่มเงินเดือน ทั้งนี้ เพราะผู้บริหารได้พินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วว่า การทำงานล่วงเวลาจะทำให้สุขภาพของพนักงานเสื่อมโทรม และเป็นการบั่นทอนคุณภาพชีวิต

                (ที่มา : ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์.การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management).หน้า 373.2552.)
               



ตัวอย่างกรณีศึกษากิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม
(Samples of A Case Study and Activities of  Corporate  Social  Responsibilities)

ตัวอย่างกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในประเทศไทย      (Samples of CSR in Thailand)
CSR  : American Corporations for Thailand Program (ACT)
ภาคธุรกิจระหว่างประเทศ (Multinational Enterprises)
                ความเป็นมา: หลังจากที่ประเทศไทยประสบปัญหา "วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540” รัฐบาลและองค์กรเอกชนต่างก็ตัดงบประมาณเพื่อความอยู่รอด คนไทยนับแสนต้องถูกเลิกจ้าง งบประมาณด้านการอบรมพัฒนาบุคลากรถูกตัด  นายอานันท์ ปัญญารชุน  ประธานสถาบันคีนันเอเชีย อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ Dr. Henry Kissinger อดีตเลขาธิการสหรัฐอเมริกา จึงร่วมกันก่อตั้ง  ACT: American Corporations for Thailand Program ขึ้นในปี 2541 เพื่อระดมทุนจากกลุ่มนักธุรกิจข้ามชาติอเมริกันที่มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ในประเทศไทย และต้องการช่วยเหลือ ในขณะเดียวกัน เป็นการทำ CSR สร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กรของตน  โดยมีองค์กรต่างๆ ที่ร่วมให้ทุน รวมทั้งสิ้น 10 องค์กร รวมเป็นเงินทั้งสิ้นกว่า 1.1 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ หรือประมาณ 44 ล้านบาท คือ Unocal, AIG, Motorola, Raytheon, Chase Manhattan Bank, GE, Union Carbide, American Express, The American Chamber of Commerce in Thailand, and Continental Grain
                โครงการระยะแรก (2541-2544)     ทุน 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 44 ล้านบาท มีระยะ 3 ปี โดยมุ่งเน้นที่จะช่วยคนไทยที่ไม่มีงานทำให้ได้กลับเข้าไปทำงานอย่างเร็วที่สุด ซึ่งผลที่ได้รับจากโครงการในระยะแรกนี้ดีเกินความคาดหมาย จนทาง ACT เพิ่มโครงการระยะที่ 2
                โครงการระยะที่ 2 (2544-2548)     ด้วยทุนกว่า 630,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 25 ล้านบาท โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสองส่วน คือ ความรู้นอกระบบ และการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โดยขยายวงกว้างออกไปกว่าเดิม คือมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถของเยาวชนที่ด้อยโอกาส กลุ่มแม่บ้าน และคนพิการ ทั้งนี้ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนารากฐานที่มั่นคง เมื่อประชาชนพึ่งตนเองได้ จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนกว่า
                ผลจากการดำเนินโครงการ:ในส่วนของการอบรม ด้วยความร่วมมือจากอาสาสมัครที่มาเป็นผู้อบรมกว่า 700 คน จากองค์กรผู้ให้ทุนและพันธมิตรของ สถาบันคีนัน ในประเทศไทย ซึ่งใช้เวลาอบรมกว่า 2,000,000 ชั่วโมง ในหลายหลักสูตร อาทิ  Operation Management, Freight Forwarding Training, Environmental Management, Plant Tissue Culture, Entrepreneurial Skills ฯลฯ ทำให้ได้ผลลัพธ์ดีเกินความคาดหมาย กล่าวคือ 90% ของผู้เข้ารับการอบรมกว่า 27,000 คน ได้รับการจ้างงาน นอกจากนี้โครงการฯ ยังได้รับแรงสนับสนุนจากสื่อกว่า 80 บทความทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์
                กว่า 7 ปีของการดำเนินโครงการ (รวม 2 ระยะ) ACT ได้มอบทุนให้แก่ผู้ผ่านการพิจารณาคัดเลือก ตั้งแต่มหาวิทยาลัยชั้นนำ องค์กรไม่หวังผลกำไร (NGO) และหน่วยงานอบรมบุคลากรของภาครัฐ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 51 ทุน อาทิ ACT Youth Leadership Program ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้    Social Forestry Education Project แก่โรงเรียนประจำจังหวัดเชียงราย   การอบรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิคสำหรับคนพิการทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  กลุ่มธุรกิจส่งออกของแม่บ้านชาวมุสลิมทางภาคใต้  ฯลฯ  ซึ่งนั่นหมายถึงการสร้างโอกาสทางอาชีพ และรายได้แก่ประชาชนไทย อย่างน้อยที่สุดโครงการฯ ทำให้คนไทยได้ตระหนักว่า เราไม่ได้เผชิญปัญหาโดยลำพัง และเมื่อประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ จะนำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
                ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ ACT ที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง
                1. “The combined-corporate action model of ACT ” การร่วมมือกันระหว่างหลายสถาบันสร้างผลงานได้ดี และขยายวงกว้างกว่าทั้งในแง่ของพื้นที่ และการให้ทุน เนื่องจากการร่วมมือกันจะลดช่องว่างและจุดอ่อนซึ่งกันและกัน  และเป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ
                2. ความรู้ความสามารถด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการบริหารเครือข่ายอย่างชาญฉลาด ของสถาบันคีนันเอเชียกับองค์กรอื่นๆ ในประเทศ สามารถดึงทรัพยากรและความรู้จากแต่ละหน่วยงานรวมเข้าด้วยกันเปรียบเสมือนการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างองค์กรกับชุมชน และช่วยทำให้การให้ทุนเกิดประสิทธิผล
                3.การให้ทุนนั้นเกิดจากความต้องการจริงๆของผู้รับทุน  และร่วมสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพียงส่วนหนึ่งในโครงการทั้ง หมด  จึงทำให้เกิดความเป็นเจ้าของโครงการอย่างแท้จริงของผู้เสนอทุน                  
                4.กระบวนการพิจารณาให้ทุนที่เข้มงวดและรัดกุม เป็นการช่วยพัฒนาโครงการก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริง
                5.โปรแกรมมีความยืดหยุ่นทำให้สถาบันคีนันสามารถปรับเปลี่ยน พื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ได้ตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องรอมติเห็นชอบจากสมาชิก ผู้ให้และผู้รับทุน
                6.คอนเซ็ปเรื่อง การผสานผลประโยชน์ซึ่งกันและกันให้หมู่พันธมิตร ได้ถูกวางไว้ในการออกแบบโครงการและนำไป สู่การปฏิบัติ การคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันของแต่ละองค์กรที่เข้าร่วมกับโครงการเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้หลายฝ่าย ร่วมมือกันอย่างดี  (WIN-WIN)
                ทิศทางสู่อนาคต : ในแง่ของความช่วยเหลือ ของ ACT ซึ่งดูอย่างผิวเผิน เหมือนจะมีน้ำใจไมตรีต่อประเทศไทยผู้กำลังประสบวิกฤต ทุกข์ยาก   แต่เบื้องหลังทุนนั้น ทุกบาททุกสตางค์ (ดอลลาร์) คือการลงทุนทางธุรกิจอย่างชาญฉลาดขององค์กรข้ามชาติอเมริกัน โดยมีมืออาชีพอย่างสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เป็นผู้จัดการประสานประโยชน์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ โครงการและองค์กรผู้ให้ทุน
                จะอย่างไรก็ดี ถึงจะเป็นการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อสร้างภาพ ด้านการทำ CSR แต่เราก็ต้องยอมรับว่าคนไทยต่างก็ได้รับประโยชน์จากการลงทุนของพวกเขาอย่างประเมินค่ามิได้ การอบรมพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชุมชนที่แร้นแค้น ห่างไกล กับผู้คนที่ไม่เคยมีความหวัง ทำให้พวกเขาได้มีชีวิตที่ดีขึ้น มีอาชีพ มีรายได้ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นสิ่งที่ลำพัง คนไทย องค์กรไทย พยายามมาหลายปีแต่ก็ไม่ค่อยจะมีผลงานเทียบเท่าได้ ซึ่งนั่นทำให้เราต้องยอมรับว่า การทำ CSR เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย ดังนั้นสิ่งที่เราต้องมุ่งหน้าต่อไป คือ จะทำอย่างไรให้องค์กรต่างๆ ในประเทศไทย ที่พอจะมีศักยภาพ (ทุนและบุคลากร) หันมาให้ความสำคัญกับการทำ CSR ดำเนินธุรกิจ อย่างมีศีลธรรม คำนึงถึง คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งนั่นจะเป็นจุดเปลี่ยนทิศทางในการทำธุรกิจในประเทศไทย นั่นคือการผสานประโยชน์ ระหว่างธุรกิจ เข้ากับ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆ กันนั่นเอง  
(ที่มา : http://www.csr.imageplus.co.th/csr_history.php?id=rE3JbHvpDSV5Cw1R)
 

ตัวอย่างกรณีศึกษา : ภาคธุรกิจขนาดใหญ่
บริษัท  ปูนซีเมนต์ไทย  จำกัด  (มหาชน)
(ที่มา :www.rightway.co.th)
                ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกสั้นๆ ว่า เครือซิเมนต์ไทย  เครือซิเมนต์ไทยเป็นบริษัทไทยแท้อยู่คู่กับสังคมไทยมานานกว่า 90 ปี มีธุรกิจในเครือครอบคลุมธุรกิจหลากหลายประเภท ตั้งแต่ ปูน อุปกรณ์ก่อสร้าง กระดาษ ฯลฯ   เครือซีเมนต์เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ในประเทศไทยที่มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างจริงจัง โดยก่อตั้ง มูลนิธิเครือซีเมนต์ไทย เพื่อดำเนินธุรกิจตามอุดมการณคุณภาพและเป็นธรรม โดยสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อย่างจริงจังและต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยมุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา กีฬา ชุมชน และสาธารณประโยชน์  โดยจะจัดกิจกรรมประกวด การแข่งขัน และให้ทุนสนับสนุนกิจกรรมด้านต่างๆ ข้างต้นเป็นประจำทุกปีเรื่อยมาอาทิ
ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การจัดประกวดหุ่นยนต์กู้ภัย(Thailand Rescue Robot Championship) การจัดค่ายวิทยาศาสตร์
เยาวชนช้างเผือกซิเมนต์ไทย  Young Thai Artist Award  นอกจากนี้ยังมอบทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง 

ด้านกีฬา
ทางด้านการกีฬามีการจัดการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งประเทศ
ไทย ที่จัดต่อ เนื่องมาเป็นเวลา 24 ปี การแข่งขันเครือซิเมนต์ไทยชิงชนะเลิศแบดมินตันแห่งประเทศไทย    และการแข่งขัน แบดมินตันเครือซิเมนต์ไทย ไทยแลนด์ โอเพ่น  วอลเลย์บอลเครือซิเมนต์ไทย ชิงชนะเลิศยุวชนแห่งประเทศไทยที่จัดต่อเนื่องมาถึง 17 ปี  
โครงการด้านสิ่งแวดล้อม
โครงการจัดระเบียบขยะ DO IT CLEAN โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ ให้แก่พนักงานเครือฯ ชุมชนรอบโรงงาน นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา และประชาชนทั่วประเทศ ผ่านกิจกรรมหลากหลายทั่วทุกภูมิภาค อาทิ เปิดตัวโครงการที่โรงงานเครือฯ จัด School Tour จัดคอนเสิร์ตในพื้นที่ชุมชนรอบโรงงาน  โฆษณาทางวิทยุและสื่อสิ่งพิมพ์ ทอดผ้าป่าขยะ รีไซเคิล และจัดทำสื่อเผยแพร่ต่างๆ
กิจกรรมสาธารณประโยชน์
อาทิ การมอบเงินสนับสนุนองค์กรสาธารณกุศลอย่างต่อเนื่อง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั่ว
ประเทศ การจัดสร้างสาธารณสมบัติต่างๆ เพื่อชุมชน  บริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยให้การช่วยเหลือทั้งระยะเร่งด่วน และฟื้นฟูในระยะยาวต่อไปด้วย  นอกจากนี้ สนับสนุนปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างแก่นิสิต/นักศึกษาที่ออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทในช่วงปิดภาคเรียน และยังสนับสนุนให้พนักงานเครือฯ สร้างอาคารเรียนให้ชุมชนท้องถิ่นในชนบท
กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
เครือฯ มุ่งบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สังคม จึงจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของ
ชุมชนรอบบริเวณบริษัทและโรงงาน เช่น สนับสนุนการจัดกิจกรรมของศูนย์เยาวชนเตชะวณิช และจัดอบรมเสริมทักษะความรู้ด้านอาชีพให้แก่ชุมชนรอบโรงงาน
             นอกจากนี้ ในส่วนของการบริหารงานบุคคลภายในองค์กร เครือซีเมนต์ไทยมีการจัดอบรบพนักงานให้มีความรู้ความสามารถอยู่เสมอด้วยแนวคิดการบริหารสมรรถนะความสามารถ (Competency-Based Management) และให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมที่เครือฯ ทำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเครือฯ เป็นบริษัทแรกที่ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2000 ด้านการบุคคลของประเทศไทย
                โดยเครือซีเมนต์ไทยถือว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นภารกิจ / พันธสัญญาของบริษัทในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ก็ควรจะมีส่วนในการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมไทยให้เจริญก้าวหน้าไปพร้อมๆ กัน



ตัวอย่างกรณีศึกษา : บางจาก ปิโตรเลียม
(ที่มา :www.rightway.co.th)
                เป็นอีกบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน  โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊ม เป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน มีการจัดประกวด"ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย"  ที่ทำขึ้นโดยชาวบ้าน/ภูมิปัญญาชาวบ้าน และให้มีโอกาสได้วางขายตามร้านค้าในปั๊มทั่วประเทศ นอกจากนั้น บางจากยังพยายามส่งเสริมให้ชาวบ้านในแต่ละชุมชน ได้มีโอกาสเป็นเจ้าของ ปั๊มน้ำมันชุมชน เพราะเห็นว่า
ชุมชนเป็นรากฐานสำคัญของสังคม ความแข็งแรงของชุมชน จะเป็นความแข็งแรงของทั้งสังคม
การสนับสนุนให้องค์กรชุมชนได้รวมกลุ่มเพื่อทำธุรกิจ จึงเป็นความพยายามเล็กๆ ทางหนึ่งของบางจากที่หวังให้ชุมชนมี รายได้สามารถเลี้ยงชีพพึ่งตนเองได้ บนวิถีชีวิตที่มีความสุข  เพราะเมื่อชุมชนแข็งแรงจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้ครอบครัวทำให้พ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกันได้เสริมสร้างรากฐานจริยธรรม การเรียนรู้ และช่วยพัฒนาศักยภาพของคนอย่างแท้จริง ซึ่งจะนำไปสู่ความแข็งแรงของสังคมและของประเทศชาติต่อไป การสร้างธุรกิจชุมชนนี้จะเกิดขึ้นได้ และต่อเนื่องยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างกลุ่มชาวบ้าน, องค์กรชุมชนต่างๆ, และภาคธุรกิจ โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน  
                ในส่วนของการจัดการภายในองค์กรของบางจากเอง บางจากมีการอบรมพนักงาน และยังมีโครงการ ปันเงินเดือน จากพนักงาน มาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม  ซึ่งจะนำมาสมทบกับ เงิน 1 สตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ 1 ลิตร (ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน)  จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป  ซึ่งการปัน เศษ เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับ การบริจาค หรือ Philanthrophy” เพราะให้ความรู้สึกที่ดีต่อทั้งลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับความช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ ซึ่งน่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรอื่นๆ ในประเทศไทยได้อีกมาก




กรณีศึกษา ด้านสถาบันการเงิน
(ที่มา :www.rightway.co.th)
                ก่อนที่จะกล่าวถึงการทำ CORPORATE CITIZENSHIP ในส่วนของ "ธนาคาร" ในประเทศไทย สิ่งแรก จำเป็นต้องทำความเข้าใจรากฐานและโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจกลุ่มนี้ก่อน ธนาคารในประเทศไทยเริ่มต้นมาจากธุรกิจค้าข้าวส่งออก โดยธนาคาแห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2431 แต่เป็นธนาคารของคนจีน คือ ธนาคารเซี่ยงไฮ้และฮ่องกงแบงก์ จนกระทั่งเริ่มต้นศตวรรษที่ 20 หรือประมาณปี 2443 เป็นต้นมา ธนาคารของคนไทยเชื้อสายจีนจึงเริ่มทยอยเปิดกิจการขึ้น นำทีมโดย สยามกัมมาจล หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ณ ปัจจุบัน (2447) และหลังจากนั้นในช่วง ยุค 40s (พ.ศ.2483-2493)ก็มีธนาคาไทยเชื้อสายจีนก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่งด้วยกัน คือ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารBBC และธนาคาร Monton (หรือ ธนาคารกรุงไทย ในปัจจุบัน)
                แน่นอนว่าการที่มีธนาคารออกมาปล่อยเงินกู้ มากขึ้น รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมดูแลให้เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะปกติ ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธนาคารกลาง จึงเข้ามามีบทบาทในการตั้งเพดานดอกเบี้ย อีกทั้งการเปิดสาขาใหม่ของแต่ละธนาคารจะต้องผ่านคณะกรรมการของธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอนุญาต นอกจากนี้ทางรัฐบาลเองยังช่วยเหลือเกษตรกรไทยด้วยการ ให้สินเชื่อเพื่อเกษตรกร ทุ่มงบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งถึงแม้จะเสี่ยง แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน

                จนกระทั่งปี 2540 ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ จากแต่เดิมที่ ธุรกิจธนาคาร มีอยู่ 4 กลุ่มแบ่งตามขนาด คือ
·                   ธนาคารขนาดกลางและขนาดย่อม
·                   ธนาคารที่รวมกิจการกับธนาคารต่างชาติ (ชาวต่างชาติเป็นผู้ดำเนินกิจการ)
·                   ธนาคารที่ดำเนินกิจการโดยรัฐ
·                   ธนาคารขนาดใหญ่ ที่สามารถระดมทุนได้เอง (มหาชน)
                หลังประสบวิกฤต กลุ่มธนาคารขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องปิดกิจการลง  ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ก็จำเป็นที่จะ ต้องขายหุ้นให้แก่ชาวต่างชาติ มากถึง 49% เพื่อความอยู่รอด จากวิกฤตที่บรรดาธนาคารไทยต้องประสบ แน่นอนว่า ภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือต่อสถาบันการเงินต่างๆ ของประชาชนย่อมลดลงเมื่อเป็นเช่นนี้ การสร้างภาพลักษณ์ความเป็นสถาบันการเงินที่ดี Good Governance จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะช่วยดึงความไว้วางใจของประชาชนกลับคืนมา ไม่เพียงแค่นั้นแต่ละธนาคารจำต้องปรับโครงสร้าง ลดจำนวนพนักงาน ลดขนาดองค์กร เพิ่มการใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการระบบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ และที่สำคัญที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการปล่อยสินเชื่อมากจนเกิดหนี้เสียมหาศาล ธนาคารต่างก็เปลี่ยนนโยบายจากการให้สินเชื่ออุตสาหกรรม/ธุรกิจ มาเป็นการให้สินเชื่อส่วนบุคคล หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ปรากฏว่าธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยังคงเป็น ธนาคารกรุงเทพ (ธนาคารขนาดใหญ่)  ธนาคารกรุงไทย(ธนาคารที่เป็นเจ้าของโดยรัฐ)  ธนาคารกสิกรไทย (ธนาคารขนาดใหญ่) และธนาคารไทยพาณิชย์ (ธนาคารขนาดใหญ่)

กรณีศึกษาของ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ
(ที่มา :www.rightway.co.th)
                ธนาคารกรุงเทพ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี  2487 โดยกลุ่มนักธุรกิจชาวจีนที่เห็นโอกาสทางการเงินเพื่อการทำธุรกิจระหว่างประเทศของพวกเขา ต่อมาในปี 2536 ธนาคารฯ ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์  นอกจากเป็นผู้นำในธุรกิจธนาคารแล้ว ธนาคารกรุงเทพ ยังมีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขยายธุรกิจให้แก่บริษัทต่างๆ มากมาย  กว่า  61 ปีของการดำเนินกิจการ  ธนาคารกรุงเทพได้มีส่วนช่วยเหลือสังคม โดยธนาคารฯ ได้ตั้งปณิธาน ที่จะรับใช้ประชนชนและพร้อมเสมอที่จะคืนกำไรสู่สังคม  (ปรากฏใน รายงานวาระครบรอบ 50 ปีของธนาคาร)  แต่ทว่าความมุ่งมั่นดังกล่าว ไม่ได้ใส่ไว้ใน วิสัยทัศน์  ของธนาคารฯ อย่างชัดเจน  การทำกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคาร จะเน้นไปที่การ ให้/บริจาค เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และรักษาสัมพันธ์อันดีระหว่างธนาคารฯ และชุมชน มากกว่าที่จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับที่ไกลออกไป โดยธนาคารฯ เชื่อว่าการทำประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอและยาวนาน ใช้งบประมาณน้อยกว่าการตลาด แต่เปรียบเสมือนการฝังรากลงไปในผืนดินไทย ยิ่งยาวนาน ยิ่งมั่นคงแข็งแรง  ดังนั้นฝ่ายประชาสัมพันธ์ของธนาคารฯ จึงเป็นหน่วยงานสำคัญที่ดูแลกิจกรรมการให้เพื่อสังคม โดยมุ่งเน้นที่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก  ศิลปวัฒนธรรม  ศาสนา การศึกษา วรรณกรรม และการกีฬา โดยทุ่มงบประมาณไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อปีเพื่อทำกิจกรรมเพื่อสังคมดังกล่าว  แต่ถึง อย่างไรขอบเขตของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของ ธนาคารกรุงเทพฯ ยังจัดอยู่ระดับ Philanthropy หรือการบริจาค มากกว่าจะเข้าไปอยู่ในระดับนโยบายสำคัญในการดำเนินงานของธนาคารฯ และคิดว่าการทำ CSR กับสถาบันการเงิน ยังพัฒนาไปได้อีกไกลในอนาคต




กรณีศึกษาจากงานวิจัยจากต่างประเทศ
 Case Study : The Effect of R&D Intensity on Corporate Social Responsibility'
Journal of Business Ethics .May 2010, Volume 93, Issue 3, pp 407-418
                This study examines the impact that research and development (R&D) intensity has on corporate social responsibility (CSR). We base our research on the resource-based view (RBV) theory, which contributes to our analysis of R&D intensity and CSR because this perspective explicitly recognizes the importance of intangible resources. Both R&D and CSR activities can create assets that provide firms with competitive advantage. Furthermore, the employment of such activities can improve the welfare of the community and satisfy stakeholder expectations, which might vary according to their prevailing environment. As expressions of CSR and R&D vary throughout industries, we extend our research by analysing the impact that R&D intensity has on CSR across both manufacturing and non-manufacturing industries. Our results show that R&D intensity positively affects CSR and that this relationship is significant in manufacturing industries, while a non-significant result was obtained in non-manufacturing industries.
                โดยสาระสำคัญของการศึกษาวิจัยนี้ คือ เป็นการตรวจสอบถึงผลกระทบที่มีการวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ (CSR ) โดยการวิจัยนี้ได้ใช้ทฤษฎี  RBV ในการวิเคราะห์     R&D และ CSR ซึ่งได้ชี้ให้ถึงความสำคัญของทรัพยากรที่ไม่มีตัวตนทั้งสองกิจกรรม โดยที่  R&D และCSR ยังสามารถสร้างสินทรัพย์ที่ทำให้บริษัทมีการได้เปรียบในการแข่งขันในธุรกิจอีกด้วย.....


  
ตัวอย่างกิจกรรม CSR ต่างๆ ของบริษัทเอกชนชั้นนำของโลก

      CSR ของบริษัท Dell คอมพิวเตอร์                
  • คอมพิวเตอร์ที่ใช้แล้วบริจาคให้หน่วยงานภาครั
  • ลดราคาสินค้าตัวใหม่ 10% เมื่อนำสินค้าตัวเก่ามาแล
  •  รับบริจาค computer, printer เพื่อนำมา recycle ใช้ใหม่
  • พนักงานร่วมบริจาคเงินโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อ
  •  ทุกเดือนก.ย พนักงาน Dell ทั่วโลก ร่วมทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อ
  •  สร้างสรรค์โครงการการออกแบบสินค้าที่เน้นรักษาสิ่งแวดล้อ
      CSR ของบริษัท McDonald’s
  • ให้การสนับสนุนโครงการโอลิมปิคเยาวช   
  • จัดรถ medical automobile ตรวจสุขภาพเด็กในชุมช  
  • ร่วมมือกับภาคีต่างๆ ออกตรวจวัดสายตาให้แก่เด็กในชุมช 
  • บ้าน Ronald McDonald เป็นที่พักแก่พ่อ-แม่ของเด็กที่ป่วยหนัก 
  • บริจาคเงินจากยอดขายสินค้าเข้ากองทุน เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกา  
  • จัดหาอาหารเลี้ยงให้แก่เจ้าหน้าที่กู้ภัยและอาสาสมัค  
  • ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ กระดาษ พลาสติ
    โดย...ดร.ปริยา รินรัตนากร ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี



กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมจากทั่วโลก  
(CSR Activities From Around The World)

CREATING GOOD PRODUCTS THAT HELP FEED THE WORLD
(ที่มา : http://www.feedprojects.com)
                FEED began in 2006 when acclaimed model and activist Lauren Bush designed a bag to benefit the United Nations World Food Programme's (WFP) School Feeding program. As a WFP Honorary Student Spokesperson, Lauren visited countries around the world in Asia, Latin America, and Africa where WFP is operating and was inspired by the plight of the people she met on her travels. She took a special interest in WFP's School Feeding program, which feeds and educates hungry children. She first created the FEED 1 bag, a reversible burlap and organic cotton bag reminiscent of the bags of food distributed by WFP, to help raise funds and awareness around these school feeding operations. It was stamped with "FEED the children of the world" and the number ‘1’ to signify that each bag feeds one child in school for one year. And in 2007, FEED Projects LLC was founded by Lauren Bush and Ellen Gustafson to produce and sell these bags......
                                FEED Projects' mission is to create good products that help FEED the world. We do this through the sale of FEED bags, bears, t-shirts, and other accessories by building a set donation into the cost of each product. Thus the impact of each product, signified by a stenciled number, is understandable, tangible, and meaningful. We take great pride in using environmentally-friendly and artisan-made materials, along with fair-labor production, in creating all FEED products. We stand behind our brand and the organizations and humanitarian programs each FEED product supports. Ultimately, we believe that everyone has the right to basic human necessities, such as healthy and nutritious food. FEED is proud to help FEED the world, one bag at a time. (ที่มา : http://www.feedprojects.com)

CSR in India
โดย....สุนทร คุณชัยมัง บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น
องค์ประกอบหลักในการพิจารณา CSR ของบริษัทเอกชนในอินเดีย จะประกอบด้วย
1.     การพัฒนาชุมชน (Community development) เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานและการพัฒนาชุมชนโดยบทบาทของกิจการเอกชนโดยตรง เพื่อยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน โดยอาจจะเน้นไปยังกิจการในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น สุขภาพ การศึกษาและเกษตรกรรม
2.     การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment management) นโยบายและแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในเรื่องของสิ่งแวดล้อม หลายบริษัทในอินเดีย ดำเนินตามมาตรฐานของ ISO 14001
3.     สถานที่ทำงาน (Workplace) ? เรื่องของความปลอดภัยในที่ทำงาน การสร้างความรู้และการสร้างความตระหนักให้กับพนักงาน
              






ยุโรป

เริ่มมีการให้ความสำคัญต่อ CSR  มาตั้งแต่ การประชุมผู้นำยุโรป ปี พ.ศ. 2544 ที่ได้กำหนดให้บริษัทในยุโรปหันมาใส่ใจกับการมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น และได้กำหนดกรอบกติกาว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (European Framework for CSR) พร้อมกับมีการจัดตั้ง Multi-Stakeholder Forum on CSR ซึ่งเป็นเวทีการหารือของผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาคธุรกิจ สหภาพแรงงาน ประชาสังคม และตัวแทนของคณะกรรมาธิการยุโร 
                Multi-Stakeholder Forum on CSR ได้บรรลุความเข้าใจเกี่ยวกับ CSR ว่า เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความสมัครใจและให้มีการส่งเสริมการรณรงค์ให้เป็นที่แพร่หลาย แต่ยังไม่เป็นที่ตกลงกันในเรื่องมาตรฐาน การติดตามผลและการจัดทำรายงาน และต่อมาคณะกรรมาธิการยุโรป ได้จัดตั้ง European Alliance for CSR และมีบริษัทขนาดใหญ่เข้าร่วม เช่น โตโยต้า โฟล์คสวาเก้น ไมโครซอพท์ โททาล จอห์สัน แอนด์ จอห์นสัน ลอยด์ ทีเอสบี และ อินเทล แต่การจัดตั้งองค์กรข้างต้น ได้มีข้อขัดแย้งระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับภาคธุรกิจ โดยกลุ่มนักพัฒนาเอกชน เสนอว่า แนวทางที่คณะกรรมาธิการยุโรปดำเนินการอยู่เป็น soft approach ที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงได้เรียกร้องให้ออกเป็นกฎระเบียบ และต้องการให้มีการตรวจสอบว่าบริษัทใช้หลักการดังกล่าวจริงหรือไม่ และเรียกร้องให้มีการจัดตั้งผู้ตรวจสอบอิสระ พร้อมทั้งให้บริษัทจัดทำรายงาน จึงแยกออกไปจัดตั้งองค์กรใหม่เรียกว่า European Coalition for Corporate Justice นำโดย Friends of the Earth Europe
                ในปัจจุบันคณะกรรมาธิการสภายุโรป ก็ยังยืนยันในความเห็นว่า CSR เป็นเรื่องของความสมัครใจของธุรกิจเอกชน ไม่ใช่เรื่องของภาครัฐ(public affairs) และได้ยึดเอาแนวทางของการดำเนินงานจากมาตรการต่างๆ 3 แห่ง เป็นแนวปฏิบัติ คือ ILO Tripartite Declaration of Principle concerning MNEs and Social Policy  / OECD Guidelines for MNEs และ UN Global Compact
                การรวมตัวกันของ European Alliance for CSR นั้นได้ส่งผลให้มีการรณรงค์ CSR กันอย่างแพร่หลาย เช่นToyota Motor Europe ได้ตั้งแผนก CSR และได้นำเอาหลักการของ CSR ไปใช้กำกับในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในการผลิตที่ผลิตจากประเทศต่างๆ (จัดการต่อ supply chain) นอกจากนั้นยังได้รวมเอาการคิดค้นเทคโนโลยียานยนต์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจ้างงานและสวัสดิการที่ดีแก่พนักงานด้วย นอกจากนั้น ยังมีผลต่อการจัดตั้ง Business Social Compliance Initiative (BSCI) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ปัจจุบันมีสมาชิกประกอบด้วย 91 บริษัท ซึ่งมีการจัดการมาตรฐานด้านสังคมในประเทศที่ไปลงทุน โดยกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ (Code of Conduct)
                นอกจากองค์กรที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ให้ความสำคัญต่อ CSR เช่นBusinessEurope / EuroChambers / European Association of Craft, Small and Medium-Size Enterprises (UEAPME) / สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD)

อังกฤษ
                ในอังกฤษ รัฐบาลมีส่วนสำคัญในการจัดการดูแลสวัสดิการสังคมและมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีสำหรับการดูแลงาน CSR ควบคู่ไปกับการดูแลงานด้านการค้าและอุตสาหกรรม(คอลัมน์ update , ประชาชาติธุรกิจ , 26 มีนาคม 2550 หน้า 42) การเข้าไปมีบทบาทอย่างจริงจรังของรัฐบาลได้เป็นลักษณะสำคัญของอังกฤษที่ผสมผสานแนวทางระหว่างอเมริกาและยุโรป (Moon and Grafski,อ้างแล้ว) สำหรับนโยบายต่อ CSR นี้รัฐบาลได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า ? รัฐบาล(อังกฤษ) เห็นว่า CSR เป็นการจัดการธุรกิจเพื่อสนับสนุนต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(sustainable development) เป็นพื้นฐานที่จำเป็นที่จะบริหารธุรกิจ ที่เป็นการจัดการระหว่างการบริหารทรัพยากรและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ กับผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะบริหารให้ธุรกิจมีกำไรมาก และมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดได้อย่างไร (maximizing the benefits and minimizing the downsides) ? (www.csr.gov.uk)
                ในช่วงทศวรรษ 1980 อังกฤษได้เริ่มปรับเปลี่ยนจากงาน CSR แบบ Implicit เป็น Explicit (Moon and Grafski, อ้างแล้ว) รัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างกิจกรรมเยาวชน เช่น The Youth Training Scheme under the aegis of the Special Programmes  Unit (CBI) / Business in the Community  (BITC) ในช่วง 1990  ซึ่งเป็นช่วงคลื่นลูกที่สองของงาน CSR เป็น ความรับผิดชอบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ (บริการ)และกระบวนการผลิตและความรับผิดชอบที่มีต่อลูกจ้าง และพัฒนาเป็นคลื่นลูกที่สามที่เป็นความรับผิดชอบต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการ (Stakeholders) และเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการเรียกร้องในเรื่องของ human rights หรือประเด็นสิ่งแวดล้อมของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนและนักลงทุนให้ความสนใจ (Moon and Grafski, อ้างแล้ว) 
                ในขณะเดียวกันก็มีวิธิการจัดการต่อแนวคิดที่ขัดแย้งกันในยุโรปว่า CSR นั้นจะเป็นกิจกรรมที่ทำโดยความสมัครใจ หรือต้องจัดทำเป็นรายงาน โดยอธิบาย ว่า CSR นั้น เป็นกิจกรรมอาสาสมัครที่สามารถดำเนินการได้ของธุรกิจเอกชน เป็นการกระทำที่เท่ากับและมากกว่าข้อกำกับในมาตรการต่างๆที่ภาครัฐมีอยู่ เป็นการสนับสนุนทั้งการดำเนินธุรกิจและสังคมไปพร้อมๆกัน และรัฐบาลก็ได้จัดทำรายงานด้าน CSR เป็นรายงานประจำปี  (www.csr.gov.uk)
ที่มา : Image Plus Communication (http://www.csr.imageplus.co.th/csr_history.php?id=DCrWfAVzd4awEXux)

CSR in America
สหรัฐอเมริกา
                สหรัฐอเมริกา มีพัฒนาการงานด้านซีเอสอาร์มาก่อนอังกฤษและยุโรป มากว่า 25 ปีโดยประมาณ ในขณะที่ยุโรปมีพัฒนาการจากการดำเนินงานตามนัยยะที่กฏหมาย ระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ปฏิบัติ ไปสร้างเป็นพันธะแห่งความร่วมมือทางสังคม (Company Social Engagement)  แต่ในอเมริกายังคงรูปแบบของงาน CSR แบบนัยยะ (Implicit CSR ) เช่นเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา โดยยังคงให้ความสำคัญกับ การประกันสุขภาพ  การจัดให้มีสวัสดิการบำนาญและกิจกรรมอื่นๆทางสังคม (Moon  and Grafski ,เพิ่งอ้าง )
                งานด้าน CSR ในสหรัฐอเมริกา เป็นปรากฎการณ์ที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและการมีส่วนร่วมโดยปกติของผู้ประกอบการที่นิยมสร้างผลกำไรแบบสูงสุดบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมและการมีเสรีภาพ self-regulating  และความเกี่ยวข้องแบบจำกัดในบทบาทของรัฐ ดังนั้น งานด้าน CSR จึงเป็นงานกิจกรรมอาสาสมัครสำหรับกิจการเอกชน (Initiatives are purely voluntary for corporations) เราจึงมักจะเห็นตัวอย่างของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบของกองทุน รัฐบาลไม่มีบทบาทในการกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามารณรงค์กิจกรรมเพื่อสังคมในรูปของกองทุนและมูลนิธิ เช่น กรณีกองทุนของบิลเกต หรือมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ เป็นต้น

 แคนาดา
                ในแคนาดา กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เป็นสนับสนุนหลักการและแนวปฏิบัติสำหรับ CSR เพราะมีความเชื่อว่า เป็นการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม ผลิตภาพและการแข่งขัน (Productive and Competitive) อันเป็นผลที่ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่มากกว่า เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักลงทุนกับการใช้ทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ชุมชน และ Reputation & Branding (www.ic.gc.ca)
                อย่างไรก็ตามในแคนาดา ก็แบ่งแนวทางการรณรงค์เป็น 2 สายทางเช่นเดียวกับแนวความคิดและการรณรงค์ทั่วโลก คือ The Conference Board of Canada เป็นองค์กรที่มุ่งจัดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ กับพันธะที่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นองค์ประกอบของความยั่งยืน และเน้นไปยังการตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียและความต้องการของผู้ถือหุ้น การให้ความสำคัญตามแนวทางของ The Conference Board of Canada มุ่งให้ความสำคัญไปยังองค์ประกอบ 5 ประการ ประกอบด้วย การมีบรรษัทธรรมาภิบาลและการจัดการภาคปฏิบัติ  การมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดการภาคปฏิบัติของทรัพยากรมนุษย์ การจัดการสิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัย และสุดท้ายคือสิทธิมนุษยชน
                ในขณะที่อีกองค์กรหนึ่ง คือ Canadian Business for Social Responsibility : CBSR ซึ่งให้นิยามสำหรับงาน CSR เป็นพันธะผูกพันของกิจการบริษัทเอกชนที่ต้องรับผิดชอบระหว่างการจัดการด้านธุรกิจกับสิ่งแวดล้อมที่มีความยั่งยืน โดยการยอมรับในผลประโยชน์ของ Stakeholders ซึ่งรวมนักลงทุน ลูกค้า พนักงาน หุ้นส่วนธุรกิจ ชุมชนท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมและสังคมโดยแสดงออกผ่านงานอาสาสมัครและการกุศล เป็นกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องตามแนวทางนี้ เช่น พนักงานสัมพันธ์การพัฒนาชุมชน การดูแลด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การจัดการด้านตลาดในภาคปฏิบัติ ตลอดจนความรับผิดชอบและการตรวจสอบทางการเงิน (www.ic.gc.ca)
                ในแคนาดา นับได้ว่าธุรกิจภาคเอกชน (private sector) มีความสำคัญต่อการรรณรงค์ CSR เป็นอย่างมาก และถือว่าเป็นงานควบคู่ที่ต้องดำเนินไปด้วยกัน โดยจะมีการจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระที่แยกต่างหากจากนิติบุคคลกิจการบริษัท โดยจัดตั้งเป็น Independent Organizations by Business Promoting CSR เช่นกรณีการดำเนินงานของสมาคมอุตสาหกรรม (IC.CA) เป็นต้น

  
ลาตินอเมริกาและกลุ่มคาริบเบียน
                จากสำรวจข้อมูลโดยเว็บไซต์ของ Paul Alexander Haslam (Paul Alexander Haslam ,อ้างใน www.facal.ca )พบว่า ภาคเอกชนมีส่วนสำคัญในการผลักดันด้าน CSR ในลาตินอเมริกา  อาร์เจนตินา ชิลี เม็กซิโก และรวมความถึงบราซิล และอุรุกวัย บทบาทของเอกชนรวมเอากิจกรรมที่ภาคเอกชนดำเนินผ่านสมาคมอุตสาหกรรม องค์กรอิสระ ชมรมผู้ประกอบการ ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Business and Industry NGO : B/INGO) และในการศึกษากรณีตัวอย่างในเอกสารเว็บไซต์นี้ จะพบว่ามีการเรียกชื่อองค์กรภาคประชาสังคมที่กว้างออกไปมากกว่า NGOs โดยจะให้ความสำคัญไปยัง Civil Society Organizations : CSOs โดยจะเรียกรวมกัน เป็น CSOs & NGOs ตัวอย่างเช่น เม็กซิโกได้จัดตั้งวิทยาลัยจัดการธุรกิจ เพื่อทำหน้าที่ในการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณะ สร้างความร่วมมือกับ North American Business Practices และการฝึกอบรม ตามผลของการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement : NAFTA) รวมทั้งทำหน้าที่เป็น National Contact Points (NCPs)ในการรณรงค์ Guidelines for Multinational Enterprises (and in Mexico in particular) ร่วมกับ OECD
                การรณรงค์ในรูปแบบความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรระหว่างประเทศข้างต้น แตกต่างไปจากการดำเนินการสนับสนุนแบบ CSR Promotion ของกระทรวงวางแผนและพัฒนาของเม็กซิโก
                ในโบลิเวีย โคลัมเบีย ปารากวัย เปรู และเวเนซูเอลา ซึ่งเป็นโซนของอเมริกาใต้ มี กิจกรรม CSR น้อยมาก  อาจเป็นเพราะประเทศเหล่านี้ บทบาทของเอกชนและบทบาทของรัฐบาลมีต่ำ  แต่พบว่ารัฐบาลพยายามที่จะดำเนินร่วมกับ Multilateral Organizations โดยเฉพาะอย่างยิ่ง UNDP ที่มีการรณรงค์ Global Compact  สำหรับประเด็นการสร้างความรู้แก่สาธารณะ มี NGO บางองค์กรและมีบางมหาวิทยาลัยทำหน้าที่นี้อยู่ 
                ในอเมริกากลาง และกลุ่มแคริบเบียน (คิวบา / สาธารณรัฐโดมินิกัน / จาไมก้า / ตรินิแดด / คอสตาริกา / นิคารากัว) จะพบกิจกรรม CSR ไม่มากนักเช่นกัน แม้ว่าบางประเทศจะมีการดำเนินกิจการเหล่านี้อยู่บ้าง แต่กลับเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศที่มีประชาชนเข้าไปใช้บริการการท่องเที่ยวในประเทศนั้นๆ เช่นกรณีของจาไมก้า ที่ได้รับการสนับสนุนจากแคนาดา ในโครงการ ENACT Environment Programme หรือบทบาทของภาคธุรกิจ (สมาคมอุตสาหกรรม) ในตรินิแดด และคอสตาริก้า และที่เอลซัลวาดอร์ และปานามา ก็พบว่า ภาคเอกชน โดยรูปแบบ B/INGO เข้ามาทำหน้าที่ Promoting CSR  เช่นกัน

โดยภาพรวมของการรณรงค์ CSR ในลาตินอเมริกาและคาริบเบียน จะพบแนวโน้ม 3 ประการ ดังนี้
(1)   ภาคธุรกิจมีความสัมพันธ์โดยตรงกับงานด้าน CSR น้อยอยู่ แต่ที่มีมากเป็นงานที่ดำเนินโดยรูปแบบ B/INGO ที่มาทำหน้าที่ promote CSR ไม่ใช่การดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบแบบผูกพันในพันธกิจที่จะต้องรับผิดชอบ (CSR obligations)
(2)   บทบาทของรัฐบาลมีส่วนร่วมน้อยและไม่มีนโยบายเชื่อมโยงในเรื่องนี้ด้วย ไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะที่เป็น NCPs และบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ เช่นกรณีของ UNDP  ในการรณรงค์ UN Global Compact ซึ่งรณรงค์ในอาร์เจนตินา ชิลี โคลัมเบียและเวเนซูเอลา
(3)   การสร้างความรู้แก่สาธารณะ  จะได้รับอิทธิพลความรู้จากภายนอกมีบทบาทมากกว่าการพัฒนาองค์ความรู้จากภายในประเทศ 
ที่มา :(http://www.csr.imageplus.co.th/csr_history.php?id=0wtx6c92vZDqFjVW)

 
 
CSR in Africa: Internet Research Study
                Corporate Social Responsibility (CSR) is about the contribution a company makes to society through its core business activities, its social investment and philanthropy programs.1 There is much confusion about the concept of CSR, and many terms are used interchangeably, such as Corporate Social Investment (CSI), corporate philanthropy, business ethics, corporate citizenship, sustainability, stakeholder management and charity.2 The concept of corporate social opportunity (CSO) is also emerging, focused on creating sustainable products or services for very low-income people in developing countries. CSR has come to be loosely defined as a company’s focus on human rights, accountability, governance, community, the environment, and the supply chain.
                The current CSR agenda is associated with a number of multilateral guidelines, including the UN Global Compact, launched by Kofi Annan in 1999, the Organization for Economic Cooperation, and Development (OECD) Guidelines for Multinational Enterprises (2000), and the Global Reporting Initiative (1997). A major CSR driver is socially responsible investment (SRI), which allows investors to integrate personal values and societal concerns with investment decisions. In the U.S., for example, one dollar in every eight dollars or 13% of the $16.3 trillion in investment assets is invested in socially responsible funds, an 82% increase since 1997.
                Corporations concerned with CSR are generally multinationals. Small and medium-sized companies do not appear to give much importance to CSR, perhaps because these companies typically do not have dequate economic or human means to implement a CSR policy.


CSR trends in Africa
                Corporate Social responsibility must be defined wider than mere charitable cheque writing by corporates operating in Africa. CSR is more than philanthropy.There is an unfortunate tradition of corporates using philanthropy as a respectable means of buying off stakeholders to accept their operating practices. Often these practices are exploitative and aimed at maximizing corporate profit in the short-term. This is not something one can only blame the companies for, African governments need to accept that a weak regulatory framework, often poorly enforced creates the space for companies to claim that they are working to a higher standard. As civil society in Africa is often short on capacity it cannot deploy adequately to challenge companies except where their impacts become extreme.
                A key challenge for corporates in Africa, whatever their origin, is the question of double standards. It is a question that capitalism confronts in an age of globalization: are we in a race for the bottom or will good practice drag up poorer performers as the business case for sustainable and responsible behaviour is made.
                A key factor that has changed in how today’s world regards business is that it now seen among other things as a challenge to local culture, a developmental agent, an exploiter of natural resources etc. This, together with the retreat of the state has created a space for society and stakeholders to demand greater transparency and accountability of companies as they impact on, and operate in, communities. CSR or the fact that companies wish to be seen as good corporate citizens is a means of empowering communities to hold companies accountable and through moral, activist and legal means influence and where necessary constrain their behaviour.
 
Corporate Social Responsibility in Australia
 
                HELEN L. ANDERSON,Monash University - Department of Business Law & Taxation,INGRID LANDAU,University of Melbourne - Faculty of Law
                Corporate social responsibility (CSR) is currently one of the most discussed topics by business people and scholars alike. The concept has been enthusiastically supported by three very disparate groups – by government,1 by non-government organizations (NGOs) ranging from charities to national and international industry groups, and by business itself, in particular large corporations.
                In 2000, a study by the Centre for Corporate Public Affairs and the Business Council of Australia found around half of Australia’s large companies had policies related to community involvement, social responsibility or stakeholder engagement. More than half of these companies had developed policies in the last decade.2 In 2001, Cronin and Zappalà concluded from their survey of Australia’s top 100 companies that just over 70 percent of companies surveyed had corporate community involvement (CCI) or CSR policies.3
                Increasing numbers of companies in Australia have policies and programs that purport to reflect their commitment to the community, society and the environment. Yet, despite the prolific amount of literature on CSR – particularly from the perspective of companies themselves and from practioners in the thriving industry of CSR consultancy – there is a dearth of empirical studies examining whether, and if so to what extent and in what manner, Australian companies are responding in practice to the increasing momentum surrounding CSR. This review outlines and discusses the small number of studies that have been conducted in Australia over the past decade by academics, business associations, government, non-profit organisations and by consultancies into these issues.




Corporate Social Responsibility in India, Policy and practices of Dutch companies
 
                In recent times, the issue of corporate social responsibility (CSR) has been given a lot of attention by both Dutch business and various stakeholders. Since the advisory report of the Sociaal Economische Raad (“Social Economic Council”, advisory board to the Dutch government) “De Winst van Waarden” (“The Profit of Values”) it is broadly acknowledged among government, business and stakeholders in the Netherlands, that CSR is not about charity, but that it belongs to the core business of a company and therefore should be an integral part of doing business. Companies are under increasing pressure from society to take their social responsibility. This is especially so if it concerns companies with a business relation in a developing country, since these companies are more confronted with CSR issues.
(http://www.csr.imageplus.co.th/csr_history.php?id=5fZ6S7arCVIupyKm)

                CSR is a container concept which encompasses many different ecological, social and economic issues. In order to give a more specific interpretation to the concept of CSR a platform of Dutch NGOs has composed a so-called CSR Frame of Reference. Aim of this framework is to give companies a coherent overview of what NGOs define as CSR. The Frame of Reference is mainly based on international treaties, guidelines and instruments enjoying broad international support that are relevant for business, such as human rights, labour rights, environmental protection, consumer protection, socio-economic development, corruption and other aspects of CSR. It also includes some fundamental operational aspects of CSR like supply chain responsibility, stakeholder involvement, transparency and reporting and independent verification.
                In order to validate the CSR Frame of Reference in an international context, the India Committee of the Netherlands (ICN or Landelijke India Werkgroep in Dutch) has initiated a project on corporate social responsibility by Dutch companies in India. ICN has asked CREM BV (Consultancy and Research for Environmental Management) to perform the research in the Netherlands and PiC (Partners in Change) to perform the research in India. CUTS (Consumer Unity and Trust Society) has commented on the Frame of Reference, this report and organised the workshop in India.
                The project was financed by the Netherlands Ministry of Housing, Spatial Planning and the Environment (VROM) and the Dutch Interchurch Organisation for Development Co-operation (ICCO).
ที่มา : LANDELIJKE INDIA WERKGROEP  (http://www.csr.imageplus.co.th/csr_history.php?id=5fZ6S7arCVIupyKm)


บทที่ 4
การมีความรับผิดชอบต่อสังคมสามารถช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน
(Corporate Social Responsibility can be develop a social for sustainability)

                จากข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติทางสังคมรายไตรมาส เรื่อง ภารกิจร่วมของเอกชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม : CSR และ Social Enterprise สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานสรุปว่า การทำ CSR สามารถทำได้หลายแนวทาง ทั้งที่ทำเป็นครั้งคราว เช่น การบริจาค การให้ทุนการศึกษา การอาสาสมัครพัฒนาสถานที่ในชุมชน เป็นต้น และการทำที่ต่อเนื่องก่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาแก่สังคม นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ได้ให้ข้อแนะนำว่าถ้าจะทำ CSR  ให้เกิดความยั่งยืนจะต้องทำให้คนมีรายได้  เพราะรายได้  คือ สิ่งที่ทำให้เขาสามารถไปซื้อบริการทางการแพทย์ที่ดี  บริการทางการศึกษานำรายได้ในการป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยเส้นทางที่จะทำให้คนจนหลุดพ้นความยากจน คือ การทำ CSR ที่มีองค์กรธุรกิจเป็นแกนหลักขับเคลื่อนความพยายามในอดีตที่จะลดความยากจนของประเทศกำลังพัฒนาน้อยครั้งมากที่จะประสบความสำเร็จ เพราะมองคนจนในมุมแคบว่าเขาจนและต้องให้บริการสังคมสงเคราะห์ ผ่านระบบราชการซึ่งเป็นแนวทางไม่ถูกต้อง เพราะระยะยาวงานสังคมสงเคราะห์เป็นการสอนให้เขาต้องพึ่งคนอื่น พึ่งการยื่นของให้ แต่ไม่ได้ส่งเสริมความรู้ความสามารถการแก้ปัญหาที่ผ่านมาจึงไม่ยั่งยืน หากมองคนจนอีกด้านหนึ่ง คนจนเป็นนักธุรกิจเขาปลูกผักเลี้ยงไก่  เพียงแต่ไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งความรู้และทุนวิธีลดความยากจนจึงต้องการความรู้เชิงธุรกิจและแหล่งทุน 
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเกิดจากการที่ธุรกิจสามารถสร้างความแตกต่าง (Differentiate) ของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ได้จากคู่แข่งขันรวมถึงความสามารถในการนำเสนอความโดดเด่น (Unique) และคุณค่า (Value) ของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์นั้น การสร้างความแตกต่าง (Differentiate) ภายใต้นวัตกรรมใหม่ (Innovation) สามารถสร้างตลาดใหม่ภายใต้การแข่งขันใหม่ โดยไม่ต้องเข้าไปแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่าง Red Ocean ส่วนองค์กรที่สามารถปรับตัวเองได้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีนั้นจะนำมาซึ่งความยั่งยืน มากกว่าธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวเองได้ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือปรับตัวได้ช้า การได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน (Sustainable Competitive Advantage) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนข้อสรุปได้ว่า ปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้นี้ คือ ยุคของ The Age of Temporary Advantage อย่างแท้จริง

 
โดย...สุธิชา เจริญงาม    (ที่มา : www.thaicsr.com)
                ความเคลื่อนไหวหนึ่งที่น่าสนใจในขณะนี้ สำหรับองค์กรที่ทำเรื่อง CSR ก็คือ การริเริ่มพัฒนากลยุทธ์ขององค์กรที่ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน และนำกลยุทธ์ดังกล่าวมาประกาศเป็นข้อผูกพันขององค์กรที่มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งหลายกลยุทธ์ที่ประกาศนั้น หากดูผิวเผินก็มิได้มีความแตกต่างจากกลยุทธ์ทางธุรกิจปกติขององค์กร และยิ่งน่าสงสัยมากขึ้นว่า ตกลงแล้วกลยุทธ์เหล่านั้นมีความมุ่งหมายสู่ความยั่งยืนขององค์กรในทางธุรกิจ หรือความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวมกันแน่
                ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะองค์กรอาจขาดความเข้าใจที่แท้จริงว่า อะไรคือบริบทของความยั่งยืน หรือบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน เลยเกิดความสับสนในการพัฒนากลยุทธ์ขององค์กร ที่อยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนตามที่องค์กรเข้าใจ
                กระบวนการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจต่อความยั่งยืน ประเด็นที่มีอิทธิพลและสำคัญต่อองค์กร รวมถึงข้อมูลที่จำเป็น เพียงพอและครบถ้วนสำหรับการนำไปประมวลหรือวิเคราะห์ผลที่เป็นประโยชน์ คือ "กระบวนการกำหนดเนื้อหาของรายงาน" ตามกรอบการรายงาน GRI ในฉบับ G 3.1 ซึ่งได้กล่าวถึงหลักการสำคัญไว้ 3 ประการ ได้แก่ บริบทความยั่งยืน (Sustainability Context) สารัตถภาพ (Materiality) และความสมบูรณ์ (Completeness)
                ในการพิจารณาบริบทความยั่งยืน องค์กรควรพิจารณาถึงประเด็นหรือแง่มุม (Aspect) สำคัญต่าง ๆ จากการดำเนินงานตามเป้าหมายขององค์กรหรือเป้าหมายการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบต่อการดำเนินงานตามเป้าหมายนั้น ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การประมวลประเด็นสำคัญที่สะท้อนถึงความยั่งยืน การพิจารณาถึงแนวโน้มความยั่งยืนไม่เพียงแค่เฉพาะองค์กรเท่านั้น แต่ต้องเป็นความยั่งยืนของสังคมโดยรวม โดยเกณฑ์การตรวจสอบบริบทความยั่งยืนที่ GRI แนะนำไว้ จะประกอบด้วยคำถามสำคัญ ดังนี้


ประเด็นที่หยิบยกมาดำเนินการ แสดงถึงความเข้าใจขององค์กรต่อประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน (คำนึงถึงการพัฒนาและการทำให้เสื่อมลงในหมวดเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ในอนาคต) หรือไม่

ประเด็นที่หยิบยกมาดำเนินการ นำไปสู่การขยายผลที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือไม่


ประเด็นที่หยิบยกมาดำเนินการ แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติอย่างเหมาะสมขององค์กรที่สื่อถึงขนาดของผลกระทบตามบริบททางภูมิศาสตร์ (ท้องถิ่น ประเทศ ภูมิภาค หรือโลก) หรือไม่




ประเด็นที่หยิบยกมาดำเนินการ อธิบายถึงกลยุทธ์ในระยะยาว ความเสี่ยง และโอกาส รวมถึงประเด็นในห่วงโซ่อุปทานของกลยุทธ์นั้น ๆ หรือไม่ ด้วยกระบวนการกำหนดเนื้อหาของรายงาน ตามกรอบของ GRI ข้างต้น จะช่วยให้องค์กรทราบถึงประเด็นและข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อความยั่งยืน ซึ่งควรได้รับการเสนอแนะจากคณะทำงาน CSR ขององค์กร รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ การตัดสินใจ การวางกลยุทธ์ การวัดผลลัพธ์ และการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนตามเจตนารมณ์ตั้งต้นของกิจการได้จริ
ด้านเศรษฐกิจ
ได้แก่ ผลเชิงเศรษฐกิจ บทบาทในตลาด และผลกระทบทางอ้อมเชิงเศรษฐกิจ
ด้านสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ วัสดุ พลังงาน น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ มลพิษทางอากาศ น้ำทิ้ง และของเสีย ผลิตภัณฑ์และบริการ การปฏิบัติตามกฎหมาย
ด้านการปฏิบัติด้านแรงงานและงานที่มีคุณค่า
ได้แก่ การจ้างงาน แรงงาน/ฝ่ายบริหารสัมพันธ์ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การฝึกอบรมและการให้ความรู้ ความหลากหลายและโอกาสแห่งความเท่าเทียม ผลตอบแทนที่เท่าเทียมระหว่างหญิงและชาย
ด้านสังคม
ได้แก่ ชุมชนท้องถิ่น การทุจริต นโยบายสาธารณะ การปฏิบัติตามกฎหมาย
ด้านสิทธิมนุษยชน
ได้แก่ แนวปฏิบัติทางการลงทุนและการจัดหาทรัพยากร การไม่เลือกปฏิบัติ เสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรอง แรงงานเด็ก แรงงานเกณฑ์และแรงงานบังคับ การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน และการเยียวยา
ด้านความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์
ได้แก่ สุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้า การแสดงฉลากผลิตภัณฑ์และบริการ การสื่อสารการตลาด และการปฏิบัติตามกฎหมาย





โดย...ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
 
                แนวคิดการสร้าง ความยั่งยืนขององค์กร (corporate sustainability)” เป็นกระบวนทัศน์ที่สำคัญยิ่งในการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจสมัยใหม่ แนวคิดนี้เสนอว่าการเติบโตและผลกำไร (corporate growth and profitability) ขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดอย่างยั่งยืนได้หากจะให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างยั่งยืน ธุรกิจจำเป็นต้องมีเป้าหมายเชิงสังคมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย (sustainable development) เป้าหมายดังกล่าว เช่น การปกป้องสิ่งแวดล้อม การสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการกระจายรายได้ เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจกรรมของธุรกิจนั้น ไม่เพียงจะต้องตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ต้องไม่ส่งผลร้ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนรุ่นต่อไป กิจกรรมของธุรกิจนั้นคำนึงถึงการกระจายผลประโยชน์แก่คนในสังคมอย่างเสมอภาคกัน (fairness) กิจกรรมของธุรกิจนั้นต้องมีส่วนส่งเสริมสภาวะความเป็นอยู่ที่ดี (wellbeing) ของคนในสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
                กล่าวอีกนัยหนึ่งแนวคิดนี้ก็คือการที่ธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมนั่นเอง สิ่งนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาบริษัทที่มีอายุเกิน 100 ปี ในประเทศอเมริกา พบว่า บริษัทเหล่านี้ มีเป้าหมาย และค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมทั้งสิ้น แนวคิด ความยั่งยืนขององค์กร นี้สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm) ของจุดหมายของธุรกิจ จากกระบวนทัศน์เดิมที่เน้นเรื่องการสร้างผลกำไรสูงสุด (profit maximization) การสร้างผลตอบแทนสูงสุด (return maximization) และการสร้างความมั่งคั่งสูงสุด (wealth maximization) ทั้งหมดนี้เพื่อประโยชน์กับเจ้าของกิจการ หรือผู้ถือหุ้น (stockholders)
          แต่สำหรับกระบวนทัศนใหม่ จุดเน้นจะอยู่ที่เรื่องการสร้างคุณค่าสูงสุด (value creation maximization) ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับกิจการของเรา (stakeholders) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการย้ายจุดเน้นจาก single bottom line ที่เน้นเรื่องผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน ไปเป็น triple bottom line ที่เน้นเรื่องของการสร้างผลตอบแทนทางสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับเป้าหมายเรื่องผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
                คำว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความสำคัญมากสำหรับแนวคิดนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหมายถึง ผู้ที่สามารถสร้างผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ หรือผู้ที่รับผลกระทบโดยตรงจากธุรกิจนั้น ซึ่งครอบคลุมไม่เพียงแต่ผู้ถือหุ้น แต่รวมถึงพนักงาน ลูกค้า คู่ค้าต่าง ๆ หุ้นส่วนธุรกิจ รัฐบาล รวมตลอดจนถึง ชุมชนที่อยู่แวดล้อมที่ตั้งของธุรกิจนั้น ยิ่งธุรกิจสามารถสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มากเท่าใด ธุรกิจนั้นก็จะยิ่งได้รับการยอมรับจากสังคม และจะสามารถดำเนินกิจการไปได้อย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น

                ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มอาจจะมีเป้าหมาย ความต้องการ ที่แตกต่างกัน ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนจะสนใจที่ผลตอบแทนจากสิ่งที่ลงทุนไปกับธุรกิจ พนักงานย่อมต้องการการทำงานที่ให้โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน ผลตอบแทนที่เป็นธรรม และความมั่นคงในงาน ส่วนลูกค้าหรือผู้บริโภคก็ต้องการได้สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสม ขณะที่ชุมชนไม่เพียงต้องการธุรกิจที่สร้างงานสร้างรายได้ให้ชุมชน แต่ยังต้องการธุรกิจที่รับผิดชอบต่อชุมชน ไม่สร้างมลภาวะหรือก่อผลกระทบเชิงลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ธุรกิจใดที่ละเมิดเป้าหมายเหล่านี้มักจะประสบปัญหาถูกต่อต้านจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่กล่าวไปข้างต้น และสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายกลุ่มอย่างเจาะจงได้ จะช่วยรักษาและเพิ่มพูนสัมพันธภาพอันดีระหว่างธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ทำให้ธุรกิจนั้นไม่เพียงแต่บรรลุเป้าหมายของธุรกิจ แต่ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้
           บริษัท Merck & Company เป็นบริษัทผลิตยาชั้นนำของโลก ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1891 ในปี 1991 P Roy Vagelos ผู้เป็น CEO ของ Merck ในขณะนั้นเล่าว่า นักธุรกิจญี่ปุ่นคนหนึ่งเคยบอกเขาว่า Merck เป็นผู้นำยา สเตปโตมัยซิน เข้าไปรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่กำลังแพร่ระบาดทั่วประเทศญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การช่วยเหลือของ Merck ยึดถือค่านิยมหลักประการหนึ่งขององค์กรที่ว่า เราอยู่ในธุรกิจแห่งการธำรงรักษาและพัฒนาชีวิตของมนุษย์ ทำให้ตัดสินใจช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นโดยไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนเชิงธุรกิจ และในวันนี้มันคงไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ Merck เป็นบริษัทยาของสหรัฐรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
           การดำเนินตามแนวคิดที่กล่าวข้างต้นนั้นไม่ใช่เรื่องระยะสั้นที่จะเห็นผลในชั่วข้ามคืน ไม่ใช่เรื่องที่จะให้ยอดขายหรือกำไรเพิ่มขึ้นในชั่วข้ามวัน แต่มันจะเป็นเหมือนรากฐานที่สร้างความน่าเชื่อถือของประชาชนที่มีให้กับธุรกิจของเรา และเป็นบันไดไปสู่โอกาสต่าง ๆ ในอนาคตที่เราอาจคาดไม่ถึง องค์กรสามารถสร้างคุณค่า (value) ให้กับ stakeholders ได้หลายทาง ผ่านการดำเนินการด้าน CSR ซึ่งต้องเป็นการดำเนินการตามความหมายที่แท้จริงอยู่ที่การสร้างคุณค่าให้กับสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ในลักษณะที่ทำอย่างจริงจัง มิใช่กิจกรรมสร้างภาพอย่างฉาบฉวยในลักษณะของการประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์



CSR as a strategy for corporate sustainability
By....Ed Zander,Chairman and Chief Executive Officer of Motorola, 2004
'Economic  sustainability, Environmental  sustainability, Social sustainability'
                “Strong  economic  performance  and  good  social  and  environmental  performance are not mutually exclusive. In fact, I believe that good corporate citizenship improves our bottom line... Firms with social citizenship records and a real commitment to corporate responsibility are arguably more sustainable, better managed and, therefore, better long-term investments.”
Examples
A.          Procter & Gamble: product excellence, continuous self-improvement, honesty and respect and concern for the individual;
B.           Wal-Mart: provide value to customers, buck conventional wisdom, work with passion and commitment, run lean and pursue ever-higher goals;
C.           3M: dedication to innovation;
D.          Hewlett Packard: respect for the individual staff;
E.           Disney: make people happy;
F.            Sony: elevation of the Japanese national culture and status. Being a pioneer – not  following  others,  but  doing  the  impossible.   Respect  and  encourage individual ability and creativity;
G.          Merck & Co.: medicine is for patients not for profits. The profits follow; and,
H.          Marriott: to make people who are away from home feel like they are amongfriends and really wanted.
                A number of studies have been conducted which provide empirical evidence and have established an argument for the positive relationship between corporate responsibility and corporate sustainability. Examples include:
 A global study examining the relationship between CSR and company stock valuation across three regions of the world over a 10 year period (1995-2005) revealed that socially responsible firms in the United States, Europe and Asia outperformed their long-term financial performance expectations; and,
 A meta-analysis of 52 studies yielding a total sample size of 33,878 observations suggested  that  corporate  virtue  in  the  form  of  social  responsibility  and,  to a lesser extent, environmental responsibility is likely to pay off. The analysis found that corporate social performance and financial performance are generally positively related across a wide variety of industry and study contexts. It also confirmed  that  social  performance  helps  firms  to  build  a  positive  reputation and goodwill with their external stakeholders.
                In  conclusion,  for  a  business  to  be  sustained  long-term,  a  company  needs  to replace a single-financial bottom line with a more balanced triple-bottom line encompassing economic, social and environmental objectives into its business practices (also referred to as “people, planet, profit”). The CSR approach outlines key areas of focus and guidance for its implementation which ultimately seek to achieve these three objectives. The next chapter introduces in detail the world’s largest CSR initiative, which will be employed as a main consideration in this report: the United Nations Global Compact.
(ที่มา : www.unescap.org/tid/publication/indpub2565_chap1.pdf)
 
 
ตัวอย่างความรับผิดชอบต่อสังคมในประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนในธุรกิจ
(Sample of CSR in Thailand to sustainable in Business)

                การทำกิจกรรมในลักษณะของความรับผิดชอบต่อสังคมมีการดำเนินการในประเทศไทยมานานแล้ว โดยมีรูปแบบการดำเนินการที่หลากหลาย  เช่น  การ บริจาคเงินหรือสิ่งของการสนับสนุนการศึกษาการสนับสนุนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมกีฬาสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นต้น  ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมและความเข้าใจเกี่ยวกับ CSR ของแต่ละกิจการ ซึ่งในการทำกิจกรรมนั้นมีทั้งที่ดำเนินการเป็นครั้งคราวและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้น  เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรม CSR ที่ดำเนินการโดยองค์กรต่างๆ ในเชิงลึกและเพื่อจะนำมาเป็นต้นแบบในการขยายผลไปในวงกว้าง จึงได้ดำเนินการศึกษา กิจกรรม CSR  ขององค์กรต่างๆ ที่น่าสนใจ โดยเน้น CSR  ที่มีบทบาทในด้านการขจัดความยากจน  การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาส CSR ตัวอย่างกิจกรรม CSR ในประเทศไทยมีจำนวน 15 กิจกรรม ดังนี้
(1)  โครงการชีวิตใหม่หลังสึนามิ  ของบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
(2)  โครงการเกษตรผสมผสาน  7 อาชีพ 7 รายได้ตามแนวพระราชดำริของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์
(3)  โครงการส่งเสริมสินค้าชุมชนของบริษัท บางจากปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน)
(4)  โครงการ Training for Life ของโรงแรมแชงกรี -ล่า กรุงเทพฯ
(5)  โครงการส่ งเสริมการปลูกกาแฟอะราบิก้า อ.อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่  ของบริษัท
วีพีพีโปรเกรสซิฟ จำกั ด
(6)  โครงการ  SCG รักษ์น้ำ...เพื่ออนาคตของบริษัทในกลุ่มเครือซิเมนต์ไทย
(7)  โครงการรักษ์ป่าสร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
( 8)  โครงการเกษตรกรรมเพื่ออาหารกลางวันนักเรียนของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์
(9)  โครงการสานรักคนเก่งหัวใจแกร่ง ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์ วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส
(10)  โครงการสำนึกรักบ้านเกิดเพื่อพัฒนาผู้นำเยาวชน ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็ดเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด  (มหาชน) หรือ ดีแทค
(11)   โรงเรียนไทยรัฐวิทยาของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
(12)   โครงการทรูปลูกปัญญาของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
(13)   โครงการแด่น้อง/โครงการทุนแว่นตา/โครงการบ้านเราอ่านคล่องมองชัดของบริษัท หอแว่น กรุ๊ป จำกัด
(14)  โครงการกล่องวิเศษ บริษัท อำพลฟูดส์  โพรเซสซิ่ง จำกัด
(15)  โครงการหนึ่งป่าต้นน้ำ หนึ่งต้นกำเนิดพลังงาน ของบริษัทในกลุ่มเอ็โก กรุ๊ป

                ปัญหาและอุปสรรคของการทำ CSR ดังนี้
 งบประมาณจึงไม่เพียงพอ (ควรมอง CSR เป็นวัฒนธรรมองค์กร)
 กิจกรรม CSR ขององค์กร ไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเท่าที่ควร
องค์กรส่วนมากทำ CSR เน้นการบริจาค บริการ เป็น CSR ที่ไม่ยั่งยืน รูปแบบ CSR ควรเน้นที่การพัฒนาเพื่อสร้างความยั่งยืน
ขาดการทำ CSR กับพนักงานภายในองค์กร ทำให้พนักงานไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำ CSR กับชุมชน สังคมภายนอก
ขาดการสื่อสาร ทำความเข้าใจ อย่างเป็นระบบกับพนักงานภายในองค์กร ถึงแนวคิด วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของ CSR
กิจกรรม CSR ไม่เชื่อมโยง Product ไม่สะท้อนอัตลักษณ์องค์กร

เราจะขับเคลื่อน CSR อย่างไรไม่ให้สะดุดในธุรกิจ
 ควรเริ่มกิจกรรม CSR จากภายในสู่ภายนอก Inner CSR
ควรปลูกฝังค่านิยมเรื่องของการช่วยเหลือ การแบ่งปัน ความรับผิดชอบ ให้แก่พนักงานในองค์กรเพื่อสร้างคนที่มีจิตอาสา
 สร้างทีมงาน CSR ประกอบด้วยบุคคลากรจากหลายฝ่ายช่วยกัน
เขียนแผนงานด้าน CSR อย่างเป็นขั้นตอน พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบโดยตรง สามารถติดตามประเมินผลได้
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสขององค์กร เพื่อหาประเด็นทำ CSR
ควรสร้างประเด็น CSR ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจ 
ประเด็น CSR มีเพียง 2-4 ประเด็น ไม่กระจัดกระจาย
สร้างกิจกรรม CSR กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆขององค์กร
ระบุให้ชัดเจนว่ากิจกกรมนั้นมุ่ง Target กลุ่มไหน
กำหนดวัตถุประสงค์ของการทำ CSR ให้ชัดเจนและแจ้งให้พนักงานทราบเพื่อให้ได้ความร่วมมือจากพนักงาน
ต้องเข้าใจแนวคิด CSR เข้าใจแก่น และเน้นทำ CSR แบบยั่งยืน
ควรทำกิจกรรม CSR อย่างต่อเนื่อง
ไม่ควรคิดทำ CSR เพียงเพื่อต่อยอด สร้างแบรนด์เท่านั้น
ควรทำ CSR ในเชิงรุก (ไม่ใช่รอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ไข)
ไม่ประเมินความสำเร็จของ CSR จากจำนวนคนที่เข้าร่วม แต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ
เข้าหา Opinion Leader ให้ชุมชนมีส่วนร่วมจัดทำแผน CSR
ควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กรกับชุมชน
จัดสรรงบประมาณด้าน CSR ให้เหมาะสม
ติดตามผลกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ และประเมินผลเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม

(ที่มา : ข้อมูลการบรรยาย โดย...ดร.ปริยา รินรัตนากร ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
 
ตัวอย่าง CSR กับความยั่งยืนของ ' Double A'
 
ปรัชญาธุรกิจ : ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
กระดาษสร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย
ด้วยความได้เปรียบของประเทศไทยด้านสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประกอบกับความชำนิชำนาญด้านเกษตรกรรมของเกษตรกรไทย ทำให้ดั๊บเบิ้ล เอ ริเริ่มโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรนำ "ต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ" ไปปลูกบนพื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น บนคันนา หรือบริเวณหน้าบ้าน หลังบ้าน ขอบแปลง เขตที่ดิน ปลูกเสริมจากการเพาะปลูกพืชหลัก อีกทั้งไม่มีข้อจำกัดด้านฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว อาศัยแรงงานน้อย ใช้เพียงเครื่องมือทางการเกษตรที่มีอยู่แล้ว เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร
ในทุกขั้นตอนการผลิต ได้ถูกคิดให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพอย่างต่อเนื่องให้กับชุมชนและสังคม ไม่ว่าจะเป็น เกิดการรับจ้างตัดไม้ ขนส่งไม้ ไปจนถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น การทำเฟอร์นิเจอร์ ส่งออกชิ้นไม้สับ โรงไฟฟ้า เป็นต้นจนทุกวันนี้เรามีส่วนช่วยให้เกษตรกรกว่า 1 ล้านครอบครัวเกิดรายได้เสริมหมุนเวียนในภาคเกษตรกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี ด้วยความหวังว่ารายได้เสริมที่เพิ่มขึ้นจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของคนไทย
กระดาษของคนไทย ส่งออกทั่วโลก
กว่า 10 ปีที่ ดั๊บเบิ้ล เอ เป็นแบรนด์กระดาษที่รู้จักของคนไทยและเป็นแบรนด์กระดาษเดียวที่ทำตลาดอย่างจริงจังในระดับโลก ขณะนี้ดั๊บเบิ้ล เอ สามารถส่งออกไปจำหน่ายในทุกภูมิภาคทั่วโลกแล้วกว่า 100 ประเทศ ครอบคลุมทั้งเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกา อัฟริกาและตะวันออกกลางและสร้างรายได้ให้กับประเทศกว่า 1 แสนล้านบาท
ปรัชญาธุรกิจ : ความยั่งยืนทางสังคม
สังคม ถือเป็นสถาบันสำคัญในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจและเศรษฐกิจให้ก้าวเดินอย่าง ยั่งยืน ดั๊บเบิ้ล เอ ยึดหลักปรัชญาในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อสร้างรอยยิ้มให้สังคมไทย
คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ต้องอพยพเข้าสู่เมือง
เกษตรกรกว่าล้านราย ที่ร่วมปลูกต้นกระดาษบนคันนา ได้มีรายได้เสริม นอกจากการปลูกพืชหลัก ทำให้มีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ต้องละถิ่นฐานเข้าเมืองเพื่อหางานทำ ช่วยให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน ลดปัญหาทางสังคม
ท้องถิ่นพัฒนา
ชุมชน เปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่งของดั๊บเบิ้ล เอ ที่ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลสมาชิกในบ้านของเรา จึงมีการจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ให้กับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านสุขภาพ การศึกษา สร้างงาน และประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ อาทิ โครงการปลูกต้นกระดาษ ปลูกปัญญาโรงเรียนในชนบท โดยแจกต้นกระดาษให้โรงเรียนปลูกในพื้นที่ว่างเปล่า เพื่อเป็นรายได้นำไปพัฒนาการศึกษา , กิจกรรมดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้าน เพื่อให้ชุมชนและเยาวชนได้เข้าเยี่ยมชมรับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตกระดาษ โดยเริ่มกิจกรรมตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบันมีผู้เข้าเยี่ยมชมแล้วกว่า 100,000 คน เป็นต้น
ปรัชญาธุรกิจ
ดั๊บเบิ้ล เอ เชื่อมั่นว่า การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ เป็นจุดเริ่มต้นในการวางพื้นฐานธุรกิจอันสำคัญ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ตลอดเส้นทางการผลิตกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ทุกแผ่น จะผ่านขั้นตอนที่สมดุลกันระหว่างคุณภาพและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
วัตถุดิบ
มีการวางแผนในการทำธุรกิจกระดาษที่มีความแตกต่างจากทั่วไป นั่นคือ การเลือกใช้วัตถุดิบจากไม้ปลูก ไม่ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติโดยเด็ดขาด ดั๊บเบิ้ล เอ จึงเริ่มต้นงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ไม้ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษคุณภาพ อีกทั้งยังเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศของประเทศ จนได้ "ต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ" ที่ใช้ระยะเวลาปลูกเพียง 3-5 ปี และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต้นกระดาษบนคันนาหรือพื้นที่ว่างเปล่าจึงเป็นการช่วยอนุรักษ์ไม้จากป่าธรรมชาติและยังเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ยั่งยืนแหล่งใหม่ให้กับโลก เพราะเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ให้กลับมีต้นไม้เพิ่มขึ้น ทำให้กระดาษดั๊บเบิ้ล เอ 1 รีม มีส่วนช่วยแก้โลกร้อน ด้วยการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 12.5 กิโลกรัมหรือปีละ 6.7 ล้านตัน

กระบวนการผลิต
 › ทรัพยากรน้ำ
- สร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ ไม่รบกวนแหล่งน้ำชุมชน ดั๊บเบิ้ล เอ มีอ่างเก็บน้ำที่ขุดขึ้นเอง เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ใช้ในโรงงานได้ตลอดทั้งปี มีขนาดความจุรวม 36 ล้านลูกบาศก์เมตร


- น้ำทิ้งผ่านการบำบัด นำมารดต้นไม้ น้ำทิ้งจากการผลิตที่ผ่านการบำบัดจนได้มาตรฐานแล้ว จะถูกนำไปใช้รดต้นไม้รอบโรงงาน โดยไม่มีปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะแต่อย่างใด
 › การผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ระบบปอกเปลือกแบบแห้ง ท่อนไม้ที่นำมาเป็นวัตถุดิบ จะถูกเข้าเครื่องปอกเปลือกแบบแห้ง ที่ใช้หลักการกระแทกกันของไม้ เพื่อกระเทาะเปลือกออก โดยไม่ต้องแช่ไม้ในน้ำ ทำให้ลดการใช้ทรัพยากรน้ำและไม่เกิดน้ำเสียจากกระบวนการนี้
หม้อต้มเยื่อที่มีคุณภาพสูง : สามารถดึงลิกนิน(น้ำมันยางดำ) ออกจากเยื่อไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ใช้สารเคมีน้อยลงระบบฟอกเยื่อ ECF : ใช้ระบบฟอกเยื่อแบบ Elemental Chlorine Free ไม่ใช้ก๊าซคลอรีนในการฟอกเยื่อ
- ผลิตเยื่อที่ใช้น้ำน้อยที่สุด เลือกใช้ระบบการล้างเยื่อที่ใช้น้ำน้อยเพียง 6-7 ลบ.ม.ต่อตันเยื่อ โดยแต่ละขั้นตอนจะผ่านเครื่อง wash press ที่มีแรงบีบถึง 120 bars ทำให้สามารถรีดน้ำออกจากเยื่อไม้ได้สูง จึงสะอาดและช่วยประหยัดน้ำได้มาก
ระบบบำบัดน้ำทิ้งมาตรฐานสากล : บำบัดด้วยระบบตะกอนเร่ง "Activated Sludge" ที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐาน ระบบบำบัดฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ (ESP) : ติดตั้งระบบดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ (ESP)ที่ดักจับฝุ่นได้สูงถึง  99%  ระดับเสียงไม่เกินค่ามาตรฐาน : เสียงที่เกิดจากกระบวนการผลิต ไม่เกินค่ามาตรฐานอุตสหกรรม

กระดาษสร้างพลังงาน

ดั๊บเบิ้ล เอ มีความคิดที่ว่า "ทำของเสีย ไม่ให้เสียของ" โดยการนำเศษไม้-เปลือกไม้-น้ำมันยางดำ ซึ่งเป็นของเหลือจากกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษ มาทำให้เกิดประโยชน์แทนที่จะปล่อยทิ้งให้เสียของ โดยนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าเป็นพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวล แทนการใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้ดั๊บเบิ้ล เอ สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าใช้หมุนเวียนได้เองภายในโรงงาน และมีไฟฟ้ามากเพียงพอที่จะรองรับการกระจายไฟฟ้าสู่ชุมชนได้อีกกว่า 400,000 ครัวเรือน หรือเท่ากับเป็นการลดการใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ถึง 340 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งเท่ากับเป็นการประหยัดการนำเข้าน้ำมันนับปีละ 10,000 ล้านบาท

 › การนำสารเคมีกลับมาใช้ใหม่

สารละลายลิกนินที่ได้จากไม้ในกระบวนการต้มเยื่อ เมื่อนำไปเผาเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าแล้ว จะได้เป็นสารหลอมเหลวนำมาทำปฎิกิริยากับน้ำปูนขาว ทำให้ได้น้ำยาต้มเยื่อกลับมาใช้ได้ใหม่

 › ดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาผลิต PCC

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ในการผลิตไฟฟ้า จะถูกดักจับเพื่อมาแปรรูปเป็นแคลเซี่ยมคาร์บอเนตหรือหินปูนสังเคราะห์ (PCC) เพื่อใช้ในการผลิตกระดาษ เพิ่มคุณภาพให้กระดาษมีความทึบแสงและขาวสว่าง แทนการใช้หินปูนจากธรรมชาติ (GCC) และยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อนอีกด้วย

 › ขี้เถ้าดำ และกากตะกอนนำเสีย นำไปปรับปรุงดิน

กากตะกอนน้ำเสียและขี้เถ้าดำ จะนำไปใช้ในการปรับปรุงดิน (Soil Condition) ในแปลงไม้ปลูกของกลุ่มบริษัท โดยไม่ทิ้งให้เสียเปล่า ถือว่าเป็นการคืนสารอินทรีย์และสมดุลกลับสู่ธรรมชาติ

 ตาไม้ที่ต้มไม่สุก ใช้ในอุตสาหกรรมไฟเบอร์บอร์ด

ตาไม้ที่ต้มไม่สุกจากกระบวนการผลิต จะถูกส่งไปใช้ในกระบวนการผลิตไฟเบอร์บอร์ด

•โครงการปรับปรุงกระบวนการผลิตและอนุรักษ์พลังงาน

(นอกจากการใช้วัตถุดิบที่มาจากไม้ปลูกและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แล้วดั๊บเบิ้ล เอ ยังคำนึงถึงการปรับปรุงให้ กระบวนการผลิตและอุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆมีประสิทธิภาพในการอนุรักษพลังงานและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดเพื่อไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม)

 › การนำความร้อนกลับคืน ลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต

ความร้อนที่เหลือทิ้งจากการผลิต เช่น น้ำร้อน ลมร้อน จะถูกนำกลับมาใช้ในการอุ่นวัตถุดิบแทนการปล่อยทิ้ง เช่น นำมาอุ่นน้ำ และอากาศ ก่อนเข้ากระบวนการผลิต ทำให้ลดการใช้พลังงานที่ต้องให้ความร้อนลงได้

 › การใช้น้ำมันใช้แล้วทดแทนการใช้น้ำมันเตา

ติดตั้งระบบเพิ่มการใช้น้ำมันใช้แล้ว ซึ่งเป็นของเสียจากอุตสาหกรรม เข้ามาเป็นเชื้อเพลิงแทนการใช้น้ำมันเตา เป็นการช่วยกำจัดของเสียจากอุตสาหกรรมและลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

 › ใช้หลอดฟลูออเรสเซ้นต์ T5 แทนการใช้หลอดฟลูออเรสเซ้นต์แบบเดิม

เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงานแบบเดิมมาเป็นหลอดฟลูออเรสเซ้นต์ T5 ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานลดได้ 30%

 ใช้แผ่นหลังคาโปร่งแสง

ติดตั้งแผ่นหลังคาโปร่งแสงในพื้นที่โรงงาน เพื่อใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติในเวลากลางวัน แทนการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ 10-12 ชั่วโมง/วัน

 › ปรับปรุงการทำงานของกับดักไอน้ำ

กับดักไอน้ำมีหน้าที่ทำให้การส่งจ่ายและการใช้งานไอน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ดักไอน้ำที่เสื่อมสภาพ ทำให้เกิดการสูญเสียไอน้ำออกจากระบบเป็นจำนวนมาก หรือบางกรณีก็ไปขัดขวางการแลกเปลี่ยนความร้อน ทำให้สิ้นเปลืองไอน้ำเกินความจำเป็น การตรวจสอบและปรับปรุงการทำงานของกับดักไอน้ำให้เหมาะสมจะทำให้สามารถส่งจ่ายและใช้งานไอน้ำได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

(ที่มา : http://csr.doubleapaper.com/th/philosophy_economic.asp







บทที่ 5

ประโยชน์ของการมีความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับภาคธุรกิจ

(The Benefits of Corporate Social Responsibility for Business Firms)

ที่มา : (http://www.csr.imageplus.co.th)

                บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก Arther D Little ได้ทำการศึกษาพบว่า การทำ CSR มีผลดีต่อธุรกิจถึง 8 ประการ คือ

การบริหารความน่าเชื่อถือ   

                การบริหารความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในธุรกิจ จากการสำรวจการทำ CSR ในหลายประเทศพบว่า CSR เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset)ที่สำคัญที่สุดอันหนึ่ง ในช่วงเวลาเพียง 10 ปี จากทศวรรษ 80-90 พบว่ามูลค่าของ Intangible Asset เป็นตัวขับเคลื่อนมูลค่าของบริษัท จาก 17% ในทศวรรษ 80 เพิ่มขึ้นเป็น 71%   ในทศวรรษ 90 ซึ่งความน่าเชื่อถือของบริษัทถูกกำหนดด้วยความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัท (Stakeholder) และยังมีการศึกษาอีกมากมายทั้งในกลุ่ม บริษัทที่ปรึกษากันเอง และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ใช้เวลากว่า 41 ปี ค้นพบว่า มีความเชื่อมโยงที่แข็งแรงมากระหว่างความน่าเชื่อถือและความสามารถในการประกอบการของบริษัท (Financial Performance)  ซึ่งพบว่าบริษัทที่สามารถจัดการความสัมพันธ์และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นองค์รวมได้นั้นจะส่งผลต่อยอดขายมากขึ้นถึง 4 เท่า และการเจริญเติบโตของการจ้างงานมากขึ้นถึง 8 เท่าเมื่อเทียบกับ บริษัทที่มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้นแต่เพียงอย่างเดียว

                ในนิตยสาร Fortune พบว่าความน่าเชื่อถือของบริษัทช่วยเพิ่มระยะเวลาที่บริษัทจะสามารถสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง หลายบริษัทโดยเฉพาะเสื้อผ้าชื่อดังในสหรัฐอเมริกาที่ถูกประท้วงเรื่องการกดค่าแรงและใช้แรงงานเด็กจากโรงงานผลิตในประเทศกำลังพัฒนา  CEO ของบริษัทฯ จึงทำการ Re-brand และพัฒนากิจกรรมที่เน้นด้าน CSR อย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาภาพลักษณ์

ประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยง

                ความซับซ้อนของเศรษฐกิจสมัยใหม่นำไปสู่ความเสี่ยงใหม่ๆ ที่ยากจะคาดเดา ดังนั้นการจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและธรรมมาภิบาล จึงมีความสำคัญมาก ในการป้องกันปัญหาอันอาจเกิดจากความเสี่ยงที่ควบคุมได้ยาก  ในสหรัฐอเมริการ ได้ทำการสำรวจบริษัทใหญ่ๆ กว่า 300 บริษัทที่ประกอบการด้านอุตสาหกรรม พบว่า บริษัทที่ได้ลงทุนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม สามารถลดความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงที่เกิดจากการคาดการณ์ของนักลงทุน ทำให้มูลค่าในตลาดหุ้นของบริษัทนั้นๆ เพิ่มขึ้นถึง 5% และมีการศึกษาอื่นๆ ที่แสดงว่า บริษัทที่ทำ CSR มักได้กำไรสูงกว่า บริษัทที่ไม่ได้ทำ

ประโยชน์ด้านการคัดเลือกและสร้างแรงจูงใจในการทำงานและรักษาพนักงานดีๆ ให้อยู่กับบริษัท

                จากการวิจัยในปี 1997 ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า 42% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะพิจารณาประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท  ในการเลือกสมัครเข้าทำงาน  และพนักงานในบริษัทก็ให้ความสนใจด้านการรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท และใช้เป็นตัวตัดสินใจในการเลือกที่จะทำหรือเปลี่ยนไปทำกับบริษัทอื่นที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดตัวอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นบริษัทค้าน้ำมันรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลกที่เสียชื่อเสียงจากการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี หลังจากเกิดวิกฤต  ปรากฎว่าหลังจากนั้นบริษัทไม่สามารถดึงดูดให้ผู้จบการศึกษาใหม่ๆ ที่มีความสามารถเข้ามาทำงานกับบริษัทได้ เนื่องจากความผิดพลาดในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทเอง

ประโยชน์ด้านความสัมพันธ์ของนักลงทุนและการเข้าถึงเงินทุน

                แต่เดิมนักลงทุนจะถูกมองว่าไม่มีศีลธรรม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและสังคม แต่จากการวิจัยพบว่าไม่จริงเสียทั้งหมด จากงานเขียน “Built to Last” ของ James C. Collins. & Jerry J. Porras. พบว่าเมื่อเทียบ 18 บริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา พบว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักในการแยกความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ประสบความสำเร็จสูง และต่อเนื่องยาวนานกับบริษัทที่ประสบความสำเร็จบ้างเป็นบางครั้งบางครา  คือการที่บริษัทเหล่านี้มีเป้าหมายที่ไกลกว่าการมุ่งแสวงหากำไรอย่างเป็นรูปธรรม หรือมีนโยบายที่ชัดเจนด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม  ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบในเชิงมูลค่าได้ คือเงินมูลค่า 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 1926 ในบริษัทที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม นำมาสู่ผลตอบแทนมหาศาลถึง 6,356 ดอลล่าร์สหรัฐในปี 1990  ในขณะที่บริษัทที่มุ่งเน้นกำไรเป็นหลัก จะมีสถิติความสำเร็จแบบขึ้นๆ ลงๆ และไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงรายได้สูงเท่ากับบริษัทกลุ่มแรก คือ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 1926 นำมาสู่ผลตอบแทน 955 ดอลล่าร์สหรัฐในปี 1990

                นอกจากนี้การที่ตลาดหลักทรัพย์เข้ามาสร้างมาตรฐาน หรือนวัตกรรมทางการเงิน SRI: Socially Responsible Investment ทำให้นักลงทุนทั่วไปตื่นตัวและเห็นประโยชน์ของการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม ทั้งประโยชน์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้นและประโยชน์ทางการเงิน เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ อย่างกรณี Dow Jones Group Sustainability Index (DJGSI) หรือแม้แต่ FTSE4good เป็นการรวม ดัชนีการลงทุนของบริษัทที่มีมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา พบว่ากลุ่มบริษัทใน DJGSI มีผลประกอบการสูงกว่าบริษัทอื่นๆ ถึง 36.1% ซึ่งถ้ามองแค่กลุ่มบริษัทด้านพลังงานที่อยู่ในกลุ่มดัชนี DJGSI เปรียบเทียบกับกลุ่มพลังงานที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม กลุ่มที่อยู่ฯ มีผลประกอบการสูงกว่า 45.3% ดังนั้น SRI  จึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นที่สนใจในหมู่นักลงทุน ที่เล็งเห็นความสำคัญของการรับผิดชอบต่อสังคมในบริษัทอื่นๆ

การเรียนรู้และนวัตกรรม

                บริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมสามารถใช้เป้าหมายดังกล่าวส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมไปในแนวยั่งยืนได้ เช่นกลุ่มบริษัทด้านเคมี ร่วมมือกับกลุ่มบริษัทด้านเกษตรอุตสาหกรรม ในการพัฒนาไฟเบอร์ที่เกิดจากการใช้พลังงานที่นำมา Renewable หรือทำใหม่/ใช้ใหม่ได้ นำไปสู่การพัมนา โพลีเมอร์ใหม่ๆ ที่เกิดจากอุตสาหกรรมเกษตร ไปจนถึงการผลิตเส้นใย และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถลดการใช้พลังงานฟอสซิล และลดการปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อมได้ถึง 20-50% เมื่อเทียบกับวิธีการผลิตแบบเดิมๆ นอกจากนั้นยังสามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าประเภทดังกล่าวให้ต่ำลงมาก ในขณะที่คุณภาพสินค้าเพิ่มขึ้น นำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันและผลกำไรที่เพิ่มขึ้นด้วย

ความสามารถทางการแข่งขันและจุดยืนในตลาด  (Market Positioning)

                ในประเทศอังกฤษ 92% ของผู้บริโภค เชื่อว่าบริษัทควรมีมาตรฐานแรงงานสำหรับซัพพลายเอร์ด้วย  และ 14% เชื่อว่าความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งแนวคิดเช่นนี้กำลังแผ่ขยายไปทั่วโลก   ในการวิจัยด้านทัศนคติของผู้บริโภคต่อการรับผิดชอบต่อสังคม ได้ทำการวิจัยกลุ่มคนกว่า 25,000 คนใน 26 ประเทศ พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่พัฒนาความคาดหวังและความประทับใจต่อบริษัทต่างๆ โดยมาจากปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท  มากกว่าการสร้างตราสินค้า หรือความสำเร็จทางการเงินของบริษัทนั้นๆ

ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (Operational Efficiency)

                คือการมุ่งเน้นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จด้านการเงิน ด้วยการลดการใช้วัตถุดิบ ลดการเกิดของเสียในกระบวนการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

 การยอมรับของสังคมต่อการดำเนินงานของบริษัท (License to Operate)

                ความคาดหวังหรือทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท มีผลอย่างมากต่อการยอมรับให้บริษัทดำเนินธุรกิจในสังคมได้  ในขณะที่บริษัทที่ดำเนินกิจการโดยไม่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม มักจะพบปัญหา ความขัดแย้งอยู่เสมอๆ จากประชาชน และกลุ่มต่อต้านต่างๆ อย่างไรก็ตามพบว่า เมื่อบริษัทยอมรับฟังเสียงจากประชาชน อันนำไปสู่การเจรจาและปรับปรุงนโยบายของบริษัท บริษัทนั้นๆ จะได้รับโอกาสจากประชาชนเสมอ ในขณะเดียวกับบริษัทที่ดำเนินกิจการโดยใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอมา แต่ต้องประสบภาวะวิกฤตร้ายแรง บริษัทยังคงได้รับโอกาสแก้ตัวจากประชาชนเช่นกัน

ที่มา : (http://www.csr.imageplus.co.th)









บทสรุปของความรับผิดชอบต่อสังคม

(Conclusion of Corporate Social Responsibility)



                ในแวดวงของผู้ที่ทำ CSR (Corporate Social Responsibility) ปัจจุบัน จะเริ่มได้รับคำถามที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่อง SD (Sustainable Development) ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บทความตอนนี้ จะพยายามอธิบายให้เห็นภาพความเกี่ยวเนื่องและความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการกับเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน

                ปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่สะสมต่อเนื่องมาในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้เป็นแรงผลักดันให้เกิดแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UNCHE) เมื่อปี 2515 ที่จุดประกายให้เรื่องสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในประชาคมระหว่างประเทศ และนำไปสู่การจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ รวมถึงการจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)

                ต่อมาในปี 2535 ในการประชุมสุดยอดโลก (Earth Summit 1992) ทำให้มีข้อสรุปที่สำคัญเกิดขึ้นหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการระบุถึงบูรณาการระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และกล่าวถึงกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนาบรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน

                ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (WSSD) ซึ่งประเทศสมาชิกจำนวน 180 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ลงนามรับรองปฏิญญาโจฮันเนสเบอร์กในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเอกสารประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศต่างๆ ที่จะร่วมกันปฏิบัติตามพันธกรณีและมาตรการจากผลการประชุม Earth Summit 1992 ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม

                หลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งนิยามโดย Brundtland Commission เมื่อปี 2520 ระบุว่า เป็น “การพัฒนาที่สามารถสนองความต้องการที่จำเป็นของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่กระทบต่อขีดความสามารถในการสนองความต้องการที่จำเป็นของคนในรุ่นต่อไป” ซึ่งแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนจะคำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หรือ Profit-People-Planet ในมุมมองของ Triple Bottom Line ที่มีความเชื่อมโยงกัน หรือกล่าวได้ว่า แนวคิดแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน มีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1) เป็นเรื่องของการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมภายใต้ข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการสนองความต้องการที่จำเป็นของคนในรุ่นต่อไป

2) คำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีความเชื่อมโยงกัน เช่น การขจัดความยากจน จำเป็นต้องคำนึงถึงการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมทางสังคมประกอบกัน

3) มุ่งหมายที่จะบรรลุถึงสถานะแห่งความยั่งยืนของสังคมโลกโดยรวม ไม่ใช่เพื่อความยั่งยืนหรือความสามารถในการอยู่รอดขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งหมายรวมถึง วิถีการบริโภคอย่างยั่งยืน และแหล่งทรัพยากรที่ยั่งยืน

                สถานะแห่งความยั่งยืนนั้น ถูกจัดให้เป็น ผล การดำเนินงาน ขณะที่ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะเป็นปัจจัยหลักหรือ เหตุ ที่เกื้อหนุนให้ได้มาซึ่งความยั่งยืนจากการประกอบการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

                ด้วยเหตุนี้ ความรับผิดชอบต่อสังคมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น จึงมิใช่เรื่องเดียวกัน แต่มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด โดยที่ CSR จะประกอบด้วยคุณลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกับ SD อยู่ 3 ประการ คือ

1) เป็นเรื่องระดับองค์กรที่คำนึงถึงการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน

2) การสร้างความยั่งยืนหรือขีดความสามารถในการอยู่รอดขององค์กร อาจมีวิธีการที่แตกต่างหรือสวนทางกับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรวม

3) สามารถใช้เป็นเครื่องมือขององค์กร ทั้งในการสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กร และในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน

                ทั้งนี้ กลไกสำคัญซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคธุรกิจ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ไม่ใช่เพียงแค่การทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่อยู่นอกกระบวนการธุรกิจ หรือเพียงเพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร แต่ต้องสามารถผนวกความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปในทุกกระบวนการทางธุรกิจจนพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของขีดความสามารถขององค์ก 




************************************************************************************






 


References



·       ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์.การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management),หน้า 369 - 374.กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2552.

·       รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์  (Final Report).โครงการสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติทางสังคมรายไตรมาส เรื่อง ภารกิจร่วมของเอกชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม : CSR และ Social Enterprises.สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.


·       Friedman, Milton (1970). “The Social Responsibility of Business is to Increase its Profits”. New

York Times Magazine, 13 September, pp. 32-33, 122, 126. (Retrieved from http://www.colorado.edu/studentgroups/libertarians/issues/friedman-soc-resp-business.html on 18 November 2013.)

·       Branco, M.C. and Rodrigues, L.L.: 2006, ‘Corporate social responsibility and resource-based perspectives’, Journal of Business Ethics, 69, 111-132.

·       Frankental, P 2001 ‘Corporate Social Responsibility – a PR invention?’. Corporate Communications: An International Journal 6(1): 18-23.

·       Hall R.: 1993, ‘A framework linking intangible resources and capabilities to sustainable competitive advantage’, Strategic Management Journal, 14(8), 607–618.

(http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/smj.4250140804/abstract)

·       Hellriegel, Jackson, Slocum. Management, A competency-based approach, Edition 10

(http://totalqualitymanagement.wordpress.com/2009/03/12/stakeholders-and-corporate-social-responsibility/)

·       Lantos, G. P.: 2001, ‘The boundaries of strategic corporate social responsibility’, Journal of Consumer Marketing, 18(7), 595-630.



·       Siegel, D.S. and Vitaliano, D.F.: 2007, ‘An empirical analysis of the strategic use of corporate social responsibility’, Journal of Economics & Management Strategy, 16(3), Fall 2007, 773–792

·       Udayasankar, K.: 2008, ‘Corporate social responsibility and firm size’, Journal of Business Ethics, 83, 167-175.

·       Waddock, S. And Graves, S.: 1997, ‘The corporate social performance – financial performance link’, Strategic Management Journal, 18(4), 303–319



แหล่งสืบค้นทาง Internet


·         สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute (CSRI)  (www.thaicsr.com)

·  สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Thaipat Institute) (www.thaipat.org)

·         ไทยพับลิก้า  (http://thaipublica.org)

·  CSR Moving& Social Movement บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (http://www.csr.imageplus.co.th)


·       CSR Thailand  (www.csrthailand.net/th/)


 

 

1 ความคิดเห็น: